

KBANK งบกำไรขาดทุน Q1/57-Q1/59 แม้ว่าจะตามคาดของนักวิเคราะห์ แต่ก็มีข้อสังเกตุ

หุ้น TMB งบกำไรขาดทุน Q1/57 – Q1/59 เกินคาด? ตามคาด? ผิดคาด?
หุ้น TMB งบกำไรขาดทุน Q1/57 – Q1/59 งบ Q1/59 มีข้อสังเกตุที่น่าสนใจอะไรบ้าง
เกินคาด? ตามคาด? ผิดคาด?

หุ้น TISCO งบกำไรขาดทุน Q1/57 ถึง Q1/59 ซื้อตอนนี้ได้ปันผลกี่%
TISCO งบกำไรขาดทุน Q1/57 ถึง Q1/59 ซื้อตอนนี้ได้ปันผลกี่%
ซื้อราคาไหนหวังส่วนต่าง มาดูกัน

PYLON vs SEAFCO เลือกตัวไหนดี
PYLON VS SEAFCO (***ขอให้ผู้อ่านรับผิดชอบตัวเอง ถ้านำข้อมูลนี้ไปใช้ลงทุน***)
หลังจากมีคำถามเข้ามากว่า หุ้นเสาเข็มเลือกตัวไหนดีระหว่าง PYLON กับ SEAFCO
จึงเปรียบเทียบหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ ให้ดูด้านล่าง ปกติจะดูทีละตัว แต่ครั้งนี้ดูและเปรียบเทียบเป็นข้อๆไปเลย
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ จะเป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุนไม่น้อย
ในภาวะที่จะเกิดโครงการลงทุนของภาครัฐซึ่งส่งผลให้เกิดโครงการใหญ่ๆตามมา
หุ้นกลุ่มแรกที่เป็นแนวหน้าในสายตานักลงทุนจะเป็นกลุ่มรับเหมาขนาดใหญ่ เช่น ITD CK STEC
หุ้นกลุ่มถัดมาจึงเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์เช่นกัน โดยเฉพาะงานเสาเข็มที่เป็นฐานรากของโครงการต่างๆ
นั่นคือ PYLON กับ SEAFCO ที่จะเปรียบเทียบกันในแง่มุมต่างๆ
ก่อนจะเข้าสูการเปรียบเทียบต้องบอกว่าตลาดงานเสาเข็มเป็น ตลาดผู้ขายน้อยราย
สินค้าสามารถทดแทนกันได้ ราคาขายจะใกล้เคียงกัน
สิ่งสำคัญ คือ การแข่งขันกับตัวเองในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มกำไร
ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีก็อาจต้องแย่งลูกค้า เกิดการแข่งขันราคากัน
ลักษณะงานของทั้ง 2 บริษัทจะมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
งานเสาเข็มเจาะ งานกำแพงกันดิน งานปรับปรุงคุณภาพดิน
รายละเอียดขอไม่กล่าวถึงตรงนี้ ถ้าสนใจศึกษาเพิ่มเติมได้จากแบบ 56-1 ของ PYLON หรือ SEAFCO
การรับงานจะต้องทำการประมูล ซึ่งลักษณะงานจะมี 2 ประเภท
รับเหมาค่าแรงและวัตถุดิบ กับ รับเหมาค่าแรงอย่างเดียว
ซึ่งทั้ง 2 บริษัทไม่ได้มีนโยบายที่จะเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
ถ้ารับเหมาค่าแรงและวัตถุดิบก็จะสั่งวัตถุดิบทีเดียวและสะท้อนไปที่ราคารับเหมาแต่แรก
ซึ่งลักษณะงานแต่ละงานมีระยะเวลาที่สั้น 3-5 เดือน ความผันผวนของราคาวัตถุดิบจึงส่งผลไม่มาก
สำหรับวัตถุดิบหลักในงานประกอบด้วย คอนกรีต เหล็กเส้น น้ำมันดีเซล เบนโทไนท์ โพลิเมอร์
[เปรียบเทียบ 1] : กำลังผลิต
ในด้านกำลังผลิต ดูจำนวนเครื่องจักรของทั้ง 2 บริษัท เปรียบเทียบคร่าวๆ
จะเห็นชัดเจนว่ากำลังผลิตของ SEAFCO มากกว่า PYLON
งานเสาะเข็ม SEAFCO ย่อมรับงานได้มากกว่ากัน 2 เท่า
งานก่อสร้างกำแพง D-Wall ทาง SEAFCO ย่อมเหนือกว่าอย่างเทียบกันไม่ติด
ในแง่กำลังผลิต SEAFCO ได้เปรียบ PYLON
[เปรียบเทียบ 2] : ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ผู้ถือหุ้นใหญ่ล่าสุด เดือนมีนาคม 2559
จะเห็นว่า PYLON มีผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนที่สูงกว่า SEAFCO
แสดงว่า PYLON เจ้าของเดิมยังหวงความเป็นเจ้าของอยู่ค่อนข้างมาก
ขณะที่ SEAFCO มีการถือหุ้นของนักลงทุนรายย่อยที่ 62.39% สูงกว่า PYLON ที่ 38.55%
ทำให้ PYLON ได้เปรียบในการตัดสินใจต่างๆในการดำเนินธุรกิจ
ในแง่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ PYLON ได้เปรียบ SEAFCO
[เปรียบเทียบ 3] : อัตราส่วน D/E
อัตราส่วน D/E เป็นการแสดงถึงสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ถ้า D/E > 2 ถือว่า หนี้สินสูง
ถ้า D/E ระหว่าง 1 ถึง 2 ถือว่าหนี้สินค่อนข้างสูง
ถ้า D/E ระหว่าง 0.5 ถึง 1 ถือว่าหนี้สินค่อนข้างต่ำ
ถ้า D/E < 0.5 ถือว่า หนี้สินต่ำ
การที่หนี้สินต่ำจะมีประโยชน์ในหลายทาง เช่น
ต้นทุนทางการเงินจะน้อย หรือ การลงทุนใหม่ๆในอนาคตจะสามารถกู้เงินได้ง่าย
สิ้นปี58 D/E ratio ของ PYLON = 0.28 SEAFCO = 0.83
PYLON หนี้สินต่ำทีเดียว ขณะที่ SEAFCO หนี้สินไม่สูงมาก
ในแง่หนี้สินถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO
[เปรียบเทียบ 4] : ต้นทุนทางการเงิน
ต้นทุนทางการเงินเป็นอีกแง่นึงถัดจากหนี้สิน
แต่การเปรียบเทียบต้องเทียบกับขนาดของบริษัทนั้นๆ
จึงนำมาเทียบกับรายได้ของแต่ละบริษัทเป็นอัตราส่วนอีกที
จะเห็นว่าต้นทุนทางการเงินเทียบกับรายได้ของทั้ง 2 บริษัทต่ำทีเดียว
ถ้าเทียบกันแล้ว PYLON = 0.19% SEAFCO = 0.82%
ในแง่ต้นทุนทางการเงินถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO
[เปรียบเทียบ 5] : สภาพคล่อง Current ratio
การวัดสภาพคล่องของแต่ละบริษัทจะดูที่ Current ratio
โดยคำนวณจาก Current ratio = ทรัพย์สินหมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
ทรัพย์สินหมุนเวียน คือ ทรัพย์สินที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี
หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี
ถ้า Current ratio > 2 ถือว่า สภาพคล่องสูง
ถ้า Current ratio ระหว่าง 1 กับ 2 ถือว่า สภาพคล่องปานกลาง
ถ้า Current ratio < 1 ถือว่า สภาพคล่องต่ำ
Current ratio ของทั้ง 2 บริษัท มากกว่า 1 ทั้งคู่ ถือว่า ไม่มีปัญหาสภาพคล่อง
ถ้าเทียบกันแล้ว PYLON = 3.64 SEAFCO = 1.43
ถ้าลงดูรายละเอียดของทรัพย์สินหมุนเวียน
จะเห็นว่า เงินสดและเงินลงทุนชั่วคราว ที่เป็นสามารถใช้ได้ทันที
PYLON = 542 ล้านบาท SEAFCO = 177 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือของทรัพย์สินหมุนเวียนจะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องไปเก็บเงินอีกทีนึง จึงยังไม่สามารถใช้ได้ทันที
ในแง่สภาพคล่องถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO
[เปรียบเทียบ 6] : วงจรเงินสด
ในธุรกิจประเภทเดียวกัน ถ้าใครที่มีวงจรเงินสดสั้นกว่าย่อมได้เปรียบคู่แข่ง
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันกับพบสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้
PYLON ระยะเวลาเก็บหนี้ 35 วัน สั้นกว่า ระยะเวลาชำระหนี้ 53 วัน
SEAFCO ระยะเวลาเก็บหนี้ 120 วัน ยาวกว่า ระยะเวลาชำระหนี้ 95 วัน
ในขณะที่ระยะเวลาขายสินค้าอยู่ที่ 20 วัน ไม่แตกต่างกันมาก
จึงทำให้วงจรเงินสดของ PYLON = 35 + 18 – 53 = 0 วัน SEAFCO = 120 + 20 – 95 = 45 วัน
ในแง่วงจรเงินสดถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO
[เปรียบเทียบ 7] : อัตรากำไร
อัตรากำไรเป็นสิ่งที่แสดงว่ามีการบริหารจัดการต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่าย เพื่อให้เกิดกำไร
ลักษณะงานมี 2 แบบหลักๆ คือ แรงงาน+ค่าวัตถุดิบ กับ แรงงานอย่างเดียว
โดยที่ แรงงาน+ค่าวัตถุดิบ จะมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ต่ำกว่า แรงงานอย่างเดียว
เพราะวัตถุดิบจะเกิดกำไรไม่มาก เนื่องจากแต่ละโครงการสั้นและบริษัทไม่เก็งกำไรจากราคาวัตถุดิบ
อัตราส่วนของลักษณะงาน ดังนี้
จะสังเกตว่า PYLON มีสัดส่วนของ แรงงาน+ค่าวัตถุดิบ สูงกว่า SEAFCO ทั้งปี57และ58
อัตรากำไรขั้นต้นของ PYLON จึงน่าจะต่ำกว่า SEAFCO แต่ผลที่ได้เป็นดังนี้
จะเห็นว่า อัตรากำไรขั้นต้นของ PYLON เพิ่มขึ้นและสูงกว่า SEAFCO
แม้ว่าลักษณะงานของ PYLON จะมีสัดส่วน แรงงาน+ค่าวัตถุดิบ มากกว่า SEAFCO
ซึ่งน่าจะให้ค่าอัตรากำไรขั้นต้นที่ต่ำกว่า
และนำมาซึ่งอัตรากำไรสุทธิที่ PYLON สูงกว่า SEAFCO ตามภาพด้านล่าง
ถ้าดูการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆหลังกำไรขั้นต้นกันบ้าง
สังเกตว่าใกล้เคียงกันประมาณ 8%–9% ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา
ในแง่ค่าใช้จ่ายต่างๆโดยรวมๆถือว่า ทัดเทียมกัน
โดยรวมในแง่อัตรากำไรถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO จากจุดชี้ขาดที่อัตรากำไรขั้นต้น
จากนี้ลองดูความถูกแพงเทียบกับราคาหุ้นบ้าง
[เปรียบเทียบ 8] : แนวโน้มกำไรและ P/E
แนวโน้มปี59 ในมุมมองของผู้บริหารทั้ง PYLON และ SEAFCO
ยังอยู่ภายใต้ที่ทรงตัวและมีมุมมองบวกต่อการลงทุนภาครัฐในช่วงครึ่งปีหลังของปี59
แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารยังคาดการณ์ผลประกอบการปี59ใกล้เคียงปี58
เช่นนั้น การเปรียบเทียบค่า P/E จึงอยู่บนสมมติฐานอนุรักษ์นิยมตามผู้บริหาร
แม้ว่านักวิเคราะห์สถาบันต่างๆจะให้คาดการณ์กำไรเพิ่ม 10%-15% ก็ตาม
จากราคาปิดวันที่ 12 เมษายน 59 PYLON = 10.40 SEAFCO = 8.90
สมมติให้ EPS ปี59 เท่ากับ ปี58 PYLON = 0.54 SEAFCO = 0.50
ค่า P/E จึงเป็นดังนี้
จะเห็นว่า ค่า P/E ของ PYLON สูงกว่า SEAFCO ภายใต้สมมติฐานผลประกอบการอนุรักษ์นิยม
จึงมองว่า ค่า P/E ของ SEAFCO น่าสนใจกว่า PYLON
[เปรียบเทียบ 9] : P/BV
ลองเปรียบเทียบราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าทางบัญชีกันดูบ้าง
จะเห็นว่า ค่า P/BV ของ PYLON สูงกว่า SEAFCO ภายใต้ธุรกิจแบบเดียวกัน
จึงมองว่า ค่า P/BV ของ SEAFCO น่าสนใจกว่า PYLON
[เปรียบเทียบ 10] : อัตราปันผล
บนสมมติฐานผลประกอบการปี59เท่าปี58 และอัตราจ่ายปันผลเท่าเดิม
จะได้อัตราปันผล ดังนี้
จะเห็นว่า Yield (%) ของ PYLON สูงกว่า SEAFCO อย่างมีนัยสำคัญ
ดูสรุปทั้ง 10 หัวข้อที่ทำการเปรียบเทียบได้ผลดังนี้
ถ้าให้เลือกตัวนึงตอนนี้ เลือก PYLON

เงิน ออม สร้างได้ ให้ไวเป็นล้าน EP2
“Smart financial plan for Salaryman Ep.2″
“มาลองสำรวจ สภาพคล่องของเราว่าเป็นอย่างไร
มองดูว่าเรามีความถนัด หรือ มีความชอบในด้านไหน”
หลังจากผ่าน Episode 1 มาแล้ว มีใครยังไม่ได้เขียนเป้าหมายตัวเอง ยกมือสารภาพมาซะดีๆ เอ้ารีบกลับไปเขียนเป้าหมายกันก่อนในเรื่อง มนุษย์เงินเดือน เงิน ออม สู่เส้นทางนักลงทุน EP1 ใน Episode 2 นี้ เราจะเริ่มสำรวจความสามารถในการหากระแสเงินสดของเราโดยเริ่มต้นผมจะอธิบายคำว่ากระแสเงินสดในความหมายของผมก่อน
คำว่า กระแสเงินสด คือ เงินสด เงินฝากในบัญชี หรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดง่ายๆ เช่นมีทอง สามารถเข้าโรงรับจำนำ เปลี่ยนเป็นเงินสดทันที หรือ รถยนต์ปลอดภาระหนี้ สามารถจำนำทะเบียนได้ ผมก็ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องนะครับ และคำอธิายง่ายๆ ของกระแสเงินสดสำหรับมนุษย์เงินเดือนคือการประเมินรายรับ กับรายจ่าย แล้วนำมาหักลบกัน ตามสูตรดังนี้ครับ
รายรับ – รายจ่าย = กระแสเงินสด ( บวก , ลบ )
ผมอยากยกตัวอย่างคนระดับพนักงานโรงงานอยู่หอพักติดโรงงาน ทานข้าวกลางวันในโรงงานเงินเดือน 20,000 บาท มีรายจ่ายต่อเดือน 10,000 บาท ( ค่าหอพัก 2,000 บาท อาหารวันละ 200 บาท คชจ อื่นๆ 2,000 บาท) อ่านรายละเอียดจำลองค่าใช้จ่าย 5 ปีต้องมีเงินล้าน ในฐานเงินเดือนที่ต่างกันที่นี่
จากสูตร รายรับ 20,000บาท – รายจ่าย 10,000 บาท = กระแสเงินสดบวก 10,000 บาท
กับอีกตัวอย่างหนึ่ง ผู้จัดการชั้นต้น อยู่คอนโดในเมืองมีภาระค่าผ่อนบ้าน ขับรถคันที่ยังต้องผ่อน และทานอาหารในห้างได้รับเงินเดือน 60,000 บาท มีรายจ่ายรายเดือน 55,000 บาท (ค่าผ่อนคอนโด 10,000 บาท ค่าผ่อนรถ 12,000 บาท ค่านำ้มัน 3,000บาท ค่าอาหาร วันละ 500 บาท คชจ อื่นๆ 5,000 บาท )
จากสูตร รายรับ 60,000บาท – รายจ่าย 55,000 บาท = กระแสเงินสดเป็นบวกที่ 5,000 บาท
จากตัวอย่างที่ผมยกมาเพียงแค่อยากให้เห็นถึงความสำคัญของการเริ่มต้นรู้จักการแยกแยะระหว่างคำว่า รายได้เยอะ กับกระแสเงินสดที่เป็นบวกเยอะ ว่ามันต่างกันครับ ( อ่านรายละเอียดจำลองค่าใช้จ่าย 5 ปีต้องมีเงินล้าน ในฐานเงินเดือนที่ต่างกันที่นี่ ) เพราะผมเพียงอยากชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือนไม่ได้มาก ก็มีสิทธ์ที่จะมี financial freedom ได้เช่นกัน และเป้าหมายของแต่ละบุคคลนั้นมันเป็นปัจเจกบุคคล ที่ต้องไปจัดการกันเอง ผมจึงอยากให้เราเริ่มต้นวางแผน เปลี่ยน mind set คำนึงถึงกระแสเงินสด มากกว่าการใช้รายรับเป็นตัวกำหนด
และขั้นต่อมา เราต้องทราบก่อนว่าเราเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีกระแสเงินสดที่เป็นลบ หรือบวกเพราะขั้นแรก
ถ้าเรามีกระแสเงินสดเป็นลบ คงต้อง ปรับให้เป็นบวกก่อน จะได้มีเงินเหลือไปทำตามเป้าหมายของเรา และเชื่อผมเถอะครับ ยิ่งคุณมีกระแสเงินสดที่เป็นบวกมากเท่าไร คุณยิ่งมีโอกาสในการมี financial freedom ได้เร็วเท่านั้น ต่อมาผมจะมาวิเคราะห์ แนวทางของการดูกระแสเงินสดเพื่อทำให้บวกมากขึ้นต้องทำอย่างไร
โอกาสที่กระแสเงินสดเป็นบวก ทำได้ง่ายๆ 2 ทางคือ
1. เพื่มรายได้
2. ลดรายจ่าย
เพียงแต่คุณต้องทราบก่อนว่าเงื่อนไขในชีวิตที่เป็นค่าใช้จ่ายของคุณนั้น ลองใช้คำถามง่ายๆ ถามตัวคุณเองว่า
” ค่าใช้จ่ายนี้ จำเป็นมั้ย ถ้าไม่ใช้จ่ายออกไปจะทำให้อยู่ไม่ได้ ใช่มั้ย” (ออมก่อนใช้ทีหลัง “ทำไม่ได้จริง” ลองอ่านดูว่าจริงมั้ย ?)
ผมใช้คำถามง่ายๆนี้ เพิ่มเติมขึ้นมาในการใช้จ่ายของผม และคุณเชื่อมั้ยว่ามันทำให้ กระแสเงินสดในชีวิตผมเพิ่มขึ้นอย่างน้อย เกือบ 50 % ผมจึงอยากให้เอาคำถามนี้มาเป็นคาถา ประจำใจ จำไว้ว่าการยึดติดในการมีสิ่งของเพื่อให้คนยอมรับนั้น มันไม่เคยช่วยให้เราดีขึ้น มีแต่ทำให้เจ้าของสินค้ารวยขึ้น แต่สำหรับเราจึงควรใช้คำถามนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
เวลาเราซื้อกาแฟสตาบัค แก้วละ 140 บาท
กาแฟอเมซอน แก้วละ 60 บาท
กาแฟ7-11 all cafe แก้วละ 35 บาท
กาแฟโบราณ แก้วละ 20 บาท
ตัวอย่างเปรียบเทียบแบบนี้ จะส่งผลถึงกระแสเงินสดเราอย่างไร ผมคิดว่าเราสามารถ design financial plan ของเราได้อย่างดีนะครับ ถ้าวันนี้การทำให้กระแสเงินสดเป็นบวกเพิ่มขึ้นจะทำได้ยากถ้าจะเพิ่มรายรับ ก็มาลองสังเกตุและใช้คาถาที่ผมแนะนำไป จะได้ลดในส่วนรายจ่ายลง