“Smart financial plan for Salaryman Ep.2″
“มาลองสำรวจ สภาพคล่องของเราว่าเป็นอย่างไร
มองดูว่าเรามีความถนัด หรือ มีความชอบในด้านไหน”
หลังจากผ่าน Episode 1 มาแล้ว มีใครยังไม่ได้เขียนเป้าหมายตัวเอง ยกมือสารภาพมาซะดีๆ เอ้ารีบกลับไปเขียนเป้าหมายกันก่อนในเรื่อง มนุษย์เงินเดือน เงิน ออม สู่เส้นทางนักลงทุน EP1 ใน Episode 2 นี้ เราจะเริ่มสำรวจความสามารถในการหากระแสเงินสดของเราโดยเริ่มต้นผมจะอธิบายคำว่ากระแสเงินสดในความหมายของผมก่อน
คำว่า กระแสเงินสด คือ เงินสด เงินฝากในบัญชี หรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดง่ายๆ เช่นมีทอง สามารถเข้าโรงรับจำนำ เปลี่ยนเป็นเงินสดทันที หรือ รถยนต์ปลอดภาระหนี้ สามารถจำนำทะเบียนได้ ผมก็ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องนะครับ และคำอธิายง่ายๆ ของกระแสเงินสดสำหรับมนุษย์เงินเดือนคือการประเมินรายรับ กับรายจ่าย แล้วนำมาหักลบกัน ตามสูตรดังนี้ครับ
รายรับ – รายจ่าย = กระแสเงินสด ( บวก , ลบ )
ผมอยากยกตัวอย่างคนระดับพนักงานโรงงานอยู่หอพักติดโรงงาน ทานข้าวกลางวันในโรงงานเงินเดือน 20,000 บาท มีรายจ่ายต่อเดือน 10,000 บาท ( ค่าหอพัก 2,000 บาท อาหารวันละ 200 บาท คชจ อื่นๆ 2,000 บาท) อ่านรายละเอียดจำลองค่าใช้จ่าย 5 ปีต้องมีเงินล้าน ในฐานเงินเดือนที่ต่างกันที่นี่
จากสูตร รายรับ 20,000บาท – รายจ่าย 10,000 บาท = กระแสเงินสดบวก 10,000 บาท
กับอีกตัวอย่างหนึ่ง ผู้จัดการชั้นต้น อยู่คอนโดในเมืองมีภาระค่าผ่อนบ้าน ขับรถคันที่ยังต้องผ่อน และทานอาหารในห้างได้รับเงินเดือน 60,000 บาท มีรายจ่ายรายเดือน 55,000 บาท (ค่าผ่อนคอนโด 10,000 บาท ค่าผ่อนรถ 12,000 บาท ค่านำ้มัน 3,000บาท ค่าอาหาร วันละ 500 บาท คชจ อื่นๆ 5,000 บาท )
จากสูตร รายรับ 60,000บาท – รายจ่าย 55,000 บาท = กระแสเงินสดเป็นบวกที่ 5,000 บาท
จากตัวอย่างที่ผมยกมาเพียงแค่อยากให้เห็นถึงความสำคัญของการเริ่มต้นรู้จักการแยกแยะระหว่างคำว่า รายได้เยอะ กับกระแสเงินสดที่เป็นบวกเยอะ ว่ามันต่างกันครับ ( อ่านรายละเอียดจำลองค่าใช้จ่าย 5 ปีต้องมีเงินล้าน ในฐานเงินเดือนที่ต่างกันที่นี่ ) เพราะผมเพียงอยากชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือนไม่ได้มาก ก็มีสิทธ์ที่จะมี financial freedom ได้เช่นกัน และเป้าหมายของแต่ละบุคคลนั้นมันเป็นปัจเจกบุคคล ที่ต้องไปจัดการกันเอง ผมจึงอยากให้เราเริ่มต้นวางแผน เปลี่ยน mind set คำนึงถึงกระแสเงินสด มากกว่าการใช้รายรับเป็นตัวกำหนด
และขั้นต่อมา เราต้องทราบก่อนว่าเราเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีกระแสเงินสดที่เป็นลบ หรือบวกเพราะขั้นแรก
ถ้าเรามีกระแสเงินสดเป็นลบ คงต้อง ปรับให้เป็นบวกก่อน จะได้มีเงินเหลือไปทำตามเป้าหมายของเรา และเชื่อผมเถอะครับ ยิ่งคุณมีกระแสเงินสดที่เป็นบวกมากเท่าไร คุณยิ่งมีโอกาสในการมี financial freedom ได้เร็วเท่านั้น ต่อมาผมจะมาวิเคราะห์ แนวทางของการดูกระแสเงินสดเพื่อทำให้บวกมากขึ้นต้องทำอย่างไร
โอกาสที่กระแสเงินสดเป็นบวก ทำได้ง่ายๆ 2 ทางคือ
1. เพื่มรายได้
2. ลดรายจ่าย
เพียงแต่คุณต้องทราบก่อนว่าเงื่อนไขในชีวิตที่เป็นค่าใช้จ่ายของคุณนั้น ลองใช้คำถามง่ายๆ ถามตัวคุณเองว่า
” ค่าใช้จ่ายนี้ จำเป็นมั้ย ถ้าไม่ใช้จ่ายออกไปจะทำให้อยู่ไม่ได้ ใช่มั้ย” (ออมก่อนใช้ทีหลัง “ทำไม่ได้จริง” ลองอ่านดูว่าจริงมั้ย ?)
ผมใช้คำถามง่ายๆนี้ เพิ่มเติมขึ้นมาในการใช้จ่ายของผม และคุณเชื่อมั้ยว่ามันทำให้ กระแสเงินสดในชีวิตผมเพิ่มขึ้นอย่างน้อย เกือบ 50 % ผมจึงอยากให้เอาคำถามนี้มาเป็นคาถา ประจำใจ จำไว้ว่าการยึดติดในการมีสิ่งของเพื่อให้คนยอมรับนั้น มันไม่เคยช่วยให้เราดีขึ้น มีแต่ทำให้เจ้าของสินค้ารวยขึ้น แต่สำหรับเราจึงควรใช้คำถามนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
เวลาเราซื้อกาแฟสตาบัค แก้วละ 140 บาท
กาแฟอเมซอน แก้วละ 60 บาท
กาแฟ7-11 all cafe แก้วละ 35 บาท
กาแฟโบราณ แก้วละ 20 บาท
ตัวอย่างเปรียบเทียบแบบนี้ จะส่งผลถึงกระแสเงินสดเราอย่างไร ผมคิดว่าเราสามารถ design financial plan ของเราได้อย่างดีนะครับ ถ้าวันนี้การทำให้กระแสเงินสดเป็นบวกเพิ่มขึ้นจะทำได้ยากถ้าจะเพิ่มรายรับ ก็มาลองสังเกตุและใช้คาถาที่ผมแนะนำไป จะได้ลดในส่วนรายจ่ายลง
เชื่อผมเถอะครับ ชีวิตเราไม่ได้จำเป็นอะไรขนาดนั้นหรอกครับ และระดับความเสี่ยงสูงสุดในทุกๆสิ่ง คือ การไม่รู้ และความเสี่ยงตำ่สุดเมื่อเราเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุดครับ พบกับผมต่อไปใน Smart Financial Plan Episode 3
- รู้ทันประกัน ออม เงิน ลดหย่อน หรือ ซื้อเพราะใจอ่อน - 14/06/2016
- ออม เงิน ให้ตายก็ไม่รวย ถ้าลืมทำสิ่งนี้ EP4.2 - 01/06/2016
- ก่อน 35 ออม เงิน ให้หนัก หลัง 60 เก็บเกี่ยวความมั่งคั่ง EP4.1 - 25/05/2016
แทร็คแบ็ค/ปิงแบ็ค