โดย Khanti | 9 ก.ค., 2018 | มือใหม่ ลงหุ้น |
Finansia HERO : App เทรดหุ้นล้ำสมัยพร้อม 5 จุดเด่น
มีความเชื่อนึงในหมู่นักลงทุนที่ว่า “โบรกไหนก็เหมือนกัน” แต่นักลงทุนอีกส่วนนึงกลับเชื่อมั่นว่า “โบรกที่ดีต้องสร้างโอกาสที่เหนือกว่าให้นักลงทุน” แล้วมันจะดีแค่ไหนหากมีโบรกที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อนักลงทุน
วันนี้ทางทีมงานหุ้นปันผลขอแนะนำ App ใหม่ Finansia HERO ยอดมนุษย์นักวิเคราะห์หุ้น ที่โบรก Finansia Syrus พัฒนาร่วมกับ Kiwoom โบรกออนไลน์อันดับ1 ของประเทศเกาหลี โดย App HERO ในเกาหลีมีการพัฒนาต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี และมีการใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน
Finansia HERO จึงเป็น App ที่มีนวัตกรรมล้ำสมัย และได้มีการปรับแต่งให้เข้ากับสภาพของตลาดหุ้นและนักลงทุนในไทย
ทีมงานหุ้นปันผลได้รวบรวม 5 จุดเด่นของ Finansia HERO ดังนี้

1. ล้ำหน้ากว่า ด้วยคำสั่งอัจฉริยะ Conditional Order มากกว่า 10 แบบ
ที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยเงื่อนไขการส่งคำสั่งที่หลากหลาย ช่วยให้นักลงทุนไม่พลาดจังหวะการลงทุนนักลงทุนจึงไม่จำเป็นต้องเฝ้าหน้าจอตลอดเวลา เหมือนมีผู้ช่วยคอยทำแทนเหมาะกับนักลงทุนที่ทำงานประจำหรือต้องการอิสระในการใช้เวลา

2. เหนือกว่า ด้วยการแสดงต้นทุนของคนส่วนใหญ่เพื่อหาจังหวะทำกำไร
เจาะลึกข้อมูล รู้ต้นทุนเฉลี่ยของตลาด เพิ่มความได้เปรียบในการหาจุดซื้อจุดขายนักลงทุนที่รู้ต้นทุนเขา รู้ต้นทุนเรา จะสามารถกำหนดจุดซื้อขายอย่างมีแต้มต่อ เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของผลตอบแทน

3. ส่งคำสั่งได้ เร็วกว่า 5 เท่า ของ Order ปกติ
ส่งคำสั่งซื้อขายเพียงแค่คลิก ไม่พลาดโอกาสแม้เสี้ยววินาทีนักลงทุนสังเกตหุ้นที่เริ่มออกตัว จะสามารถขึ้นรถได้ทันเวลาก่อนคนอื่นเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการระบบที่ตอบสนองการตัดสินใจอย่างฉับไว

4. มิติใหม่ของ Technical Chart ด้วย Auto Pattern & Back Test
ค้นหา Pattern ของราคาโดยอัตโนมัติ และ Back Test เพื่อเลือกใช้ Indicator ที่แม่นยำ นักลงทุนสามารถใช้ระบบที่ออกแบบอย่างทันสมัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุดของการซื้อขายเหมาะกับนักลงทุนสายเทคนิคที่ต้องการเทรดอย่างมั่นใจ

5. จัดหน้าจออิสระได้ ตามสไตล์ของคุณ
สามารถปรับแต่งหน้าจออย่างอิสระ เพิ่มความคล่องตัวในการเทรดยิ่งขึ้นนักลงทุนสามารถปรับแต่งให้ถนัดตามแนวทางลงทุนของตนเองเหมาะกับนักลงทุนทั้งเริ่มต้นและมากประสบการณ์นอกนั้นยังมี Feature ใหม่ๆอีกมากมายที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้นักลงทุน

โดยสรุป Finansia HERO
มีการออกแบบฟังก์ชันที่ตอบสนองต่อนักลงทุนทุกกลุ่ม สามารถสร้างความแตกต่างต่อผลลัพธ์ในการลงทุน ทั้งยังรองรับทุกระบบ Android, iOS และ PC สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลาจึงดีครบจบใน App เดียว
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.finansiahero.com
ขอรหัสทดลองใช้ได้ที่ http://www.finansiahero.com/request-trial-account/
Download App & Free Trial ได้ที่ https://www.finansiahero.com/download/
ดู Demo การใช้งานได้ที่ https://www.fnsyrus.com/channel
สอบถามการใช้งานได้ที่ Call center 02-782-2400
สนใจเปิดพอร์ตลงทุนกับ บล. ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
โทร 02-782-2400 หรือสมัคร Online ได้ที่ http://onlinefss.fnsyrus.com/requestonline/OPENACCOUNT/register?sectionurl=HOME&boothcode=BZ009
#FINANSIAHERO #FINANSIA #HERO #เทรดหุ้น #TRADE #APP #APPหุ้น #ล้ำหน้ากว่าที่เคยมี
โดย Khanti | 26 เม.ย., 2018 | บทความแนะนำ, มือใหม่ ลงหุ้น |
สำหรับท่านที่ไม่เคยลงทุนหุ้น
1. DIF ลงทุนอะไร
- เสาโทรคมนาคม 15271 เสา
- ใยแก้วนำแสงและอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ 2576873 คอร์กิโลเมตร
- ระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด 1.2 ล้านพอร์ต ครอบคลุม 198085 คอร์กิโลเมตร
2. ซื้อขาด หรือ เช่า
- มีทั้ง 2 แบบ จากกลุ่มTRUE โดยส่วนที่เป็นสิทธิการเช่า ทางDIF มีสิทธิ์ในการซื้อขาดในราคาที่ต่ำ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาสิทธิการเช่า
- ในทางปฏิบัติจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของ DIF นั่นเอง
- ทำให้ DIF ไม่มีหมดอายุ
3. DIFคาดหวังปันผลได้มากน้อยแค่ไหน
- ปันผล(คาด) ประมาณ 1.04 บาท/หน่วย/ปี
- ถ้าราคาขาย 13.9 บาท
- (ราคาขายอยู่ระหว่าง 13.6 – 13.9 บาท)
- (ราคาขายจะสรุปก่อน 14 พ.ค. 61)
- คิดเป็นปันผลประมาณ 7.5% ต่อปี
DIF จึงเหมาะกับนักลงทุนที่คาดหวังปันผล
4. DIFเงินปันผลต้องเสียภาษีหรือไม่
- ได้รับการงดเว้นภาษี 10%
- จนถึงประมาณปี 2566 หรืออีก 6 ปี
- เงินปันผลที่กองทุนจ่ายให้นักลงทุน 100 บาท ไม่ต้องเสียภาษี 10 บาท ไปอีก 6 ปี หลังจากนั้นเงินปันผลก็ถูกหักภาษี 10% คล้ายๆ การปันผลของหุ้น
- ถ้าเทียบเคียงกับดอกเบี้ยเงินฝากจะถูกหักภาษี 15%
5. DIFปันผลถี่แค่ไหน
- ทุก 3 เดือน ประมาณ 0.25 บาท/ครั้ง
- โดยเงินปันผลโอนเข้าบัญชีธนาคาร ที่ทางผู้ลงทุนแจ้งไว้ หรือบางกรณีอาจส่งเป็นเช็คถึงบ้าน
- ปันผลรอบแรก ประมาณปลายเดือน ส.ค.61 – ต้นเดือนก.ย.61
- รอบแรกจะได้ไม่ถึง 0.25 บาท/หน่วย อาจจะประมาณ 0.15-0.18 บาท/หน่วย
- เพราะเป็นผลดำเนินงาน 2 เดือน พ.ค.61-มิ.ย.61
6.DIF ลงทุนได้ไหม ถ้าไม่เคยลงทุนหุ้นมาก่อน
- ลงทุนได้ แม้ไม่เคยลงทุนหุ้นมาก่อนท่านจะได้เป็นใบหุ้นในภายหลัง
7. DIF ขายต่อได้ไหม หรือต้องถือยาวไปตลอด
- ขายต่อได้ แนะนำให้เปิดพอร์ทหุ้นไปด้วยเลย (เปิดพอร์ทหุ้นแทบไม่เสียตังนะ) เพื่อให้สามารถขายผ่านระบบของตลาดหุ้น
- ราคาขายต่อ อาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าที่ท่านลงทุนตอนแรก ขึ้นกับหลายปัจจัย
- เช่น ผลดำเนินงานของกองทุน ภาวะการซื้อขายของตลาดหุ้น ภาวะผลตอบแทนของทรัพย์สินอื่น เป็นต้น
- การลงทุนใน DIF ไม่ใช่การฝากธนาคาร
- เงินต้นที่ลงทุนอาจเพิ่มหรือลดก็เป็นได้
- 1ปี ที่ผ่านมา DIF มีราคาซื้อขายในตลาดหุ้น
- ระหว่าง 13.9 – 14.9 บาท/หน่วย
- ความผันผวนประมาณ 7% ใน1ปีที่ผ่านมา
8. DIF ซื้อยังไงที่ไหนเมื่อไร
- จองซื้อได้ที่ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย (แนะนำให้ไปสาขาใหญ่ๆจะสะดวกกว่า)
- ระหว่างวันที่ 2-4 พ.ค.61 และวันที่ 7-11 พ.ค.61
- วันที่ 11 พ.ค.61 จะเปิดจองถึง 15:30
- จองก่อนหลังมีค่าเท่ากัน
- เพราะจัดสรรแบบ Small lot first
- เอาว่า จองน้อยๆได้แน่
- ไม่ใช่ว่าจองก่อนได้ก่อน ไม่ใช่ของหมดอดเลย
- ราคาจอง คือ 13.9 บาท/หน่วย
- (ราคาขายอยู่ระหว่าง 13.6 – 13.9 บาท)
- (ราคาขายจะสรุปก่อน 14 พ.ค. 61)
- ถ้าราคาขายสุดท้ายต่ำกว่า 13.9 บาท สมมติว่าสุดท้าย 13.7 บาท ส่วนต่าง 0.2 บาท จะคืนให้ภายหลัง
9. DIFมีความเสี่ยงสำคัญหลักๆมีอะไร
- เนื่องจากกลุ่มTRUEเป็นผู้เช่าหลักของ DIF การจ่ายค่าเช่าของTRUE จะส่งผลต่อผลดำเนินงานของDIFอย่างมีนัยสำคัญ
- คล้ายๆมีบ้านปล่อยเช่าถ้าผู้เช่าจ่ายตรงจ่ายครบ ก็จบ ถ้าผู้เช่าไม่จ่าย ก็เจ้ง
- TRUE คือใคร มีความเสี่ยงจะเบี้ยวค่าเช่ามากน้อยแค่ไหน ท่านลองประเมินด้วยตัวเองก่อนลงทุน
10. DIFนอกนั้นมีความเสี่ยงสำคัญอะไรอีก
- เนื่องจากทรัพย์สินของ DIFมีมากมายหลายส่วน การทำสัญญาเช่าระหว่าง TRUE (ผู้เช่า) กับ DIF (ผู้ให้เช่า)
- มีอายุสัญญาเช่าเฉลี่ยประมาณ 20 ปี
- มีการหมดอายุไม่พร้อมกัน
- บางส่วนก็หมดอายุปี68 (หรืออีก7ปี)
- บางส่วนก็หมดอายุปี76 (หรืออีก15ปี)
- หลังจากนั้นการต่ออายุระยะเวลาการเช่า อาจทำให้ค่าเช่ามีการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อผลดำเนินงานของ DIF ได้เช่นกัน
หมายเหตุ
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะกำไรและขาดทุนเป็นของท่านนักลงทุนเอง ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานหุ้นปันผล
โดย Khanti | 26 ก.พ., 2018 | บทความแนะนำ, มือใหม่ ลงหุ้น |
เดือนแห่งความรัก เป็นเวลาแห่งความสุขของทุกท่าน
ทว่าการลงทุนในตลาดหุ้นกลับมีความผันผวนสูง สร้างความกังวลกับนักลงทุนหลายท่าน
หรือจะฝากธนาคาร แม้มีความเสี่ยงที่ต่ำ แต่ก็ได้ผลตอบแทนต่ำเช่นเดียวกัน
หรือจะลงทุนตราสารหนี้โดยตรง หรือผ่านกองทุนรวม ก็อาจสร้างผลตอบแทนสูงขึ้น บนความเสี่ยงที่สูงขึ้น
ทางเลือกที่หลายท่านแนะนำ คือ การลงทุนใน “หุ้นปันผลสูง” ที่เปรียบเสมือน “ห่านทองคำ”
หลายครั้งตารางจัดอันดับหุ้นปันผล แชร์กันตามโลกโซเชียล หากลงทุนโดยไม่ได้ศึกษาเพิ่มเติม
ขอเตือน!! ท่านอาจติด “กับดักปันผล” ทั้งปันผลไม่ได้ตามคาดและติดดอย
เพื่อให้ปลอดภัยในการต่อยอดเงินด้วยการลงทุนในหุ้นอย่างไรดี แนะนำให้ลองอ่านบทความจาก Plearn เพลิน By Krungsri Guru นี้ดู
ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานหุ้นปันผล จึงขอมอบเคล็ดลับการค้นหา “หุ้นปันผลสูง” เบื้องต้นให้ท่าน แน่นอนว่าเคล็ดลับเบื้องต้นการค้นหา “หุ้นปันผลสูง” มีการบ้านที่ต้องทำพอสมควร
เรามีวิธีที่ง่ายกว่านั้นในการลงทุนหุ้นปันผล ผ่านกองทุนรวมหุ้นที่มีนโยบายจ่ายปันผลจากธนาคารกรุงศรี เช่น KFSDIV, KFSEQ-D, KFDNM-D, KFFIN-D, KFTSTAR-D
และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น KFLTFD70, KFLTFEQ70D, KFLTFDIV, KFLTFSTARD, KFLTFAST-D, KFLTFA50-D, KFLTFTSM-D
โดยท่านสามารถเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนตรงกับสไตล์ของท่าน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก goo.gl/wjkNFj
สำหรับท่านที่ต้องการค้นหาหุ้นปันผลสูงด้วยตนเอง เริ่มจากพื้นฐานดังนี้
อัตราปันผล (%) = [ เงินปันผล (บาท) / ราคาหุ้น (บาท) ] x 100% ถ้าท่านลงทุนหุ้นราคา 100 บาท แล้วจ่ายปันผล 5 บาท อัตราปันผลจะเท่ากับ 5% ดังนั้น ตัวกำหนดว่าจะได้อัตราปันผลที่ต้องการหรือไม่ คือ 1.เงินปันผล (ที่จ่าย) กับ 2.ราคาหุ้น (ที่ลงทุน)

1.เงินปันผล (ที่จ่าย)
สิ่งที่ท่านต้องคาดการณ์อันดับแรก คือ เงินปันผลที่คาดว่าจะจ่ายให้ท่านในอนาคต โดยปกติเงินปันผลมาจากบริษัททำธุรกิจมีกำไร จึงแบ่งกำไรตอบแทนผู้ถือหุ้นในรูป “เงินปันผล”
ตัวอย่างคร่าวๆ
บริษัทกำไรสุทธิ 200 ล้านบาท จ่ายปันผล 140 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 100 ล้านหุ้น
กำไรต่อหุ้น 200/100 = 2.0 บาท/หุ้น จ่ายปันผล 140/100 = 1.4 บาท/หุ้น
แบบนี้ “อัตราการจ่ายปันผล” เท่ากับ ( 1.4 / 2.0 ) x 100% = 70% อีก 60 ล้านบาทที่เหลือ บริษัทอาจลงทุนขยายธุรกิจเพื่อสร้างกำไรเพิ่มขึ้นและปันผลมากขึ้นในอนาคต

วิธีการที่ท่านจะเห็นภาพ คือ การสรุปข้อมูลย้อนหลัง และใช้คาดการณ์การจ่ายปันผลไปด้วย
ยกตัวอย่างตามรูป เป็นข้อมูลของหุ้นตัวหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดสามารถค้นหาได้จาก www.set.or.th
เห็นว่าปี 58-60 บริษัทมีอัตราการจ่ายปันผล 70% หรือ “เมื่อบริษัทมีกำไร 100 บาท จะจ่ายปันผล 70 บาท” จึงมีสมมติฐานว่าในปี61 ก็น่าจะมีอัตราการจ่ายปันผล 70% เช่นเดิม

จากนั้นคาดการณ์กำไรต้อหุ้นในปี61
จากแนวโน้มของกำไรต้อหุ้น ปี58=1.93 บาท/หุ้น ปี59=2.01 บาท/หุ้น ปี60=2.12 บาท/หุ้น
มีการเพิ่มขึ้นประมาณ4%-5%ต่อปี เราก็อาจคาดการณ์ให้ปี 61 เพิ่มขึ้น4% จากปี60 เป็น 2.12 x (100+4)% = 2.20 บาท/หุ้น (การคาดการณ์นี้เป็นเพียงตัวอย่างสมมติเพื่อประกอบการอธิบายเท่านั้น)
จากข้อมูลข้างต้น ถ้าอัตราการจ่ายปันผลคงเดิม70% และกำไรต่อหุ้น 2.20 บาท/หุ้น ในปี61 เราก็พอจะคาดการณ์ว่าปันผล 2.20 x 70% = 1.54 บาท/หุ้น

2.ราคาหุ้น (ที่ลงทุน)
หลังจากคาดการณ์ว่าจะจ่ายเงินปันผลเท่าไรไปแล้ว สิ่งถัดมาที่สำคัญ คือ ราคาหุ้นที่ลงทุน
หุ้นที่ดี หากลงทุนในราคาที่สูงเกินไป ก็อาจเป็นการลงทุนที่แย่ก็เป็นได้ จากการคาดการณ์ว่าปันผล 1.54 บาท/หุ้น
หากลงทุนในราคา 15.4 บาท อัตราปันผล(%) จะเป็น ( 1.54 / 15.4 ) x 100% = 10%
หากลงทุนในราคา 30.8 บาท อัตราปันผล(%) จะเป็น ( 1.54 / 30.8 ) x 100% = 5%
หากลงทุนในราคา 61.6 บาท อัตราปันผล(%) จะเป็น ( 1.54 / 61.6 ) x 100% = 2.5%
สำหรับการลงทุนใน หุ้นปันผลสูง ควรคาดหวัง อัตราปันผล(%) > 5%
ดังนั้นต้องตรวจสอบราคาหุ้นก่อนที่จะลงทุนว่า สามารถสร้างอัตราปันผล(%) > 5% ได้หรือไม่
สำหรับเทคนิคอีกอย่างหนึ่งจากทีมงานหุ้นปันผล เพื่อเสริมการลงทุนให้มีแต้มต่อมากขึ้น
คือการเปรียบเทียบกับ “ค่าเฉลี่ยของอัตราปันผล(%)” ย้อนหลัง4ปี สามารถค้นหาข้อมูลได้จาก www.set.or.th จากรูปคำนวณ “ค่าเฉลี่ยของอัตราปันผล(%)” ได้ ( 5.19 + 6.63 + 5.84 + 5.88 ) / 4 = 5.9% หมายความว่า หากท่านจะลงทุนอย่างมีแต้มต่อควรคาดหวัง อัตราปันผล(%) > 5.9%

ภายหลังการลงทุน เราควรตรวจสอบว่าสิ่งที่เราคาดการณ์มีแนวโน้มเป็นอย่างไร การตรวจสอบอย่างน้อยที่สุด ควรทำอย่างน้อยทุก 3เดือน จากงบการเงินทุกไตรมาส กรณีที่เราคาดการณ์กำไรต้อหุ้นในปี61 เท่ากับ 2.20 บาท/หุ้น แสดงว่า โดยเฉลี่ยแต่ละไตรมาสควรจะมีกำไรต่อหุ้น 2.20 / 4 = 0.55 บาท/หุ้น หากงบประกาศออกมาต่ำกว่า 0.55 บาท/หุ้น อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ปันผลที่คาดการณ์ไว้ 1.54 บาท/หุ้น น่าจะเป็นไปได้ยาก และควรพิจารณาสาเหตุและปรับพอร์ทหากกำไรต้อหุ้นมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการเลือกหุ้นปันผลสูงเราควรศึกษารายละเอียดของแต่ละบริษัท
1.ทำความเข้าใจลักษณะธุรกิจ
เราควรจะทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงบวกและลบ สามารถศึกษาจากแบบ56-1,Oppday,ประชุมผู้ถือหุ้น,อื่นๆ เมื่อมีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจะได้เห็นโอกาสหรือหลบวิกฤต เช่น
– บริษัทส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ค่าเงินบาทอ่อนอาจส่งผลเชิงบวก ค่าเงินบาทแข็งอาจส่งผลเชิงลบ
– บริษัทขายปัจจัยสนับสนุนการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช ช่วงขาดแคลนน้ำทำเกษตรอาจส่งผลเชิงลบ
– บริษัทใช้วัตถุดิบที่อิงราคาตลาด หากราคาตลาดลดก็อาจส่งผลเชิงบวก หากราคาตลาดเพิ่มก็อาจส่งผลเชิงลบ
– บริษัทอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ที่อยู่ในภาวะมีการแข่งขันสูงขึ้นอาจส่งผลเชิงลบ
– บริษัทอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ก็อาจส่งผลเชิงบวก
2.ลักษณะธุรกิจอยู่ในช่วงใด
ควรเลือกลงทุนในธุรกิจที่มีแนวโน้มกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสิ่งสำคัญ คือ หลีกเลี่ยงธุรกิจที่อยู่ในช่วงขาลง เพราะแนวโน้มกำไรจะลดลง ทำให้ปันผลลดลงด้วย เช่น
– ลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่น เช่น สมุดโฆษณาร้านค้า มีกูเกิ้ลเข้ามาแทน
– ช่องทีวีที่มีน้อยช่องในอดีต ผู้ชมมีทางเลือกการดูมากขึ้น หลังการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล
– ธุรกิจสิ่งพิมพ์ได้รับผลกระทบจากสื่อสมัยใหม่ในโลกออนไลน์
3.กระแสเงินสดของบริษัท
เนื่องจากการจ่ายปันผลที่เราต้องการ คือ “เงินสด” ดังนั้นบริษัทจึงควรมีกระแสเงินสดที่ดีต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถจ่ายปันผลได้คล่องตัว สังเกตได้จากงบกระแสเงินสดควรมี “เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน” เป็น “บวก” เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้รับเงินสดจากการทำธุรกิจมาจ่ายปันผลในลำดับต่อไป ถ้าท่านมีเวลาเราแนะนำให้ศึกษาวิธีการอ่านงบการเงินอย่างละเอียด
4.กำไรพิเศษ
ในบางปีบริษัทอาจมีกำไรนอกเหนือจากการทำธุรกิจหลัก เช่น กำไรจากการขายที่ดิน,กำไรจากการขายเงินลงทุน,เงินชดเชยจากประกันอุทกภัย ทำให้จ่ายปันผลสูงกว่าปกติในปีนั้น หากเราคาดว่าปีถัดไปไม่มีกำไรพิเศษ บริษัทก็ไม่น่าจะจ่ายปันผลได้สูงเช่นเดิม นอกจากนั้นกำไรพิเศษบางรายการก็ไม่ใช่เป็นรายการเงินสด
แม้ว่าจะมีการบันทึกรายการเข้ามาในงบก็ตาม ก็ไม่สามารถจ่ายปันผลจากกำไรที่เกิดขึ้นได้
เช่น กำไรจากการประเมินมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สิน,กำไรจากการซื้อธุรกิจต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม
5
.การเปลี่ยนแปลงนโยบายเงินปันผล
การเปลี่ยนแปลงนโยบายเงินปันผล บางบริษัทอาจเปลี่ยนแปลงนโยบายเงินปันผล ทำให้การจ่ายปันผลลดลง แม้ว่ากำไรสุทธิจะเท่าเดิม เช่น บริษัทสื่อสารแห่งหนึ่ง เปลี่ยนอัตราการจ่ายปันผลจาก100% ของกำไรสุทธิ เป็น ไม่ต่ำกว่า70% ของกำไรสุทธิ ทำให้อัตราปันผลจาก 7%-8% ลดลงเหลือ 3%-4% หากว่าเราดูเพียงอัตราปันผลย้อนหลังในอดีตแล้วลงทุน ก็อาจได้อัตราปันผลต่ำกว่าที่ต้องการ

โดย Khanti | 29 ม.ค., 2017 | บทความแนะนำ, มือใหม่ ลงหุ้น, เริ่มลงทุน |
เนื่องจากมีสมาชิกท่านหนึ่งในห้อง Line ของ online basic1 บอกว่า ลงทุนหุ้นแล้วมีความเครียดกังวล คิดว่า เกิดจากพื้นความรู้ ใจร้อน รอไม่เป็น ผมจึงพยายามเรียบเรียงความคิดของผม ให้อ่านกันดูบ้าง
มาจากทั้งที่ผมคุยกับอ.นุ้ย และอ่านหนังสือต่างๆ ดูแนวคิดกูรูหลายท่านๆสิ่งแรกที่คนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นต้องการ คือ กำไร
แต่อีกปัจจัยนึงที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน คือ ความสุข
กำไร vs ความสุข
[คำแนะนำข้อที่1] ทำใจเผชิญหน้ากับอารมณ์ภายในตนเองให้ได้ ตลาดหุ้นเป็นสถานที่ที่ขาดความสมดุลและขาดความพอดี สามารถสร้างความทุกข์ให้กับทุกคนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ขายหมู ตกรถ ติดดอย เป็นเรื่องปกติ
ถ้าท่านจัดการรับมือกับอารมณ์ภายในไม่ได้ ตลอดชีวิตการลงทุนก็จะอยู่กับความทุกข์ คงไม่คุ้มแน่นอนกับกำไรที่ได้มา บางคนบอกว่าถ้าพอร์ตโตๆ ความสุขก็มาเอง
ไม่ใช่เสมอไปหรอก ลองนึกว่าท่านเป็น VI พอร์ทพันล้าน วันที่หุ้นค้าปลีกลงจาก 50 บาท เหลือ 40 บาท ใน1-2วัน จากข่าวธรรมาภิบาลของผู้บริหาร
เงินท่านหายไปในอากาศหลายร้อยล้าน
ถ้าท่านเป็น VI ท่านนั้น ท่านจะรู้สึกอย่างไร? ลองตอบตัวเองดู
แล้วท่านรับมือความรู้สึกแบบนั้นไหวไหม หลายครั้งที่เราลงทุนแล้วไม่ได้ขายที่ราคาสูงสุด พอคิดเป็นเงินที่หายไปในอากาศ จะเกิดคำว่า เสียดาย ทั้งที่กำไรแล้วแท้ๆ ความทุกข์ก็ยังมีอยู่ดี กรณีของเราอาจเป็นหลักพันหลักหมื่นหลักแสนหลักล้าน แล้ววันที่ท่านมีพอร์ทพันล้าน จะทุกข์กว่าเดิมกี่เท่า
ความสุขอยู่แห่งหนใดหนอ?
[คำแนะนำข้อที่2] ต้องมีเป้าหมายและรู้จักคำว่า พอ คำว่า พอ เป็นคำที่ต้องผ่านและต้องมี

หากต้องการความสุขในการลงทุนอย่างแท้จริงเป้าหมายในการลงทุนของท่านคืออะไรกันแน่ หากท่านไม่มีเป้าหมาย คำว่า พอ จะไม่มีวันเกิดเลยแล้วความสุขก็มีแต่ห่างไกลท่านออกไปทุกทีๆๆ
หรือท่านกำลังหาในสิ่งที่ตลาดหุ้นไม่มีให้ท่านอยู่รึเปล่า เป้าหมายแบบง่ายๆ เช่น กี่%ต่อปีที่ท่านต้องการ เป้าหมายเป็นแบบปัจเจกตามแต่ละคน
ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหรือไม่ต้องลอกกันก็ได้
- บางคนเป้าหมาย >20%
- บางคนต้องการดีกว่าฝากธนาคารที่ดอกเบี้ยต่ำ
- บางคนอยากได้ปันผลสัก 5-7%ต่อปี
- หรือจะลงทุน DCA เพื่ออนาคต 5-10 ปีข้างหน้า
จริงใจและซื่อสัตย์กับตัวเองให้มากที่สุด
เป้าหมายจะเป็นตัวแบ่งลักษณะหุ้นที่ลงทุน และความเสี่ยงในการลงทุน เมื่อลงทุนแล้วก็อย่าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เก่งกว่าตัวเองเมื่อวาน ทำได้ทุกวันก็พอละ แล้วจะทำไงให้เก่งขึ้นเรื่อยๆ?
[คำแนะนำข้อที่3] มีระบบการลงทุนของตัวเอง
โชคอาจทำให้เกิดกำไรเป็นครั้งคราว ระบบจะทำให้เกิดกำไรยั่งยืนในระยะยาว จากสถิตินักลงทุนหน้าใหม่ที่เข้าตลาดมาปีละแสนราย

ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม จะมีผู้แพ้ที่ขาดทุนและออกจากตลาดไปถึง2ใน3 ใน2ปีแรก และจะเหลือเพียง1ใน3 ที่จะก้าวต่อไปในปีที่3จนเป็นผู้ชนะในอนาคต
อะไรเป็นความแตกต่างของผู้แพ้กับผู้ชนะในตลาดหุ้น
คำตอบ คือ ระบบการลงทุน
ระบบ คืออะไร ทำไมสร้างความแตกต่างให้ผู้ชนะกับผู้แพ้
ระบบการลงทุนจะถูกออกแบบโดยผู้ลงทุนเอง ซึ่งจะมาจากเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคน ไม่ต้องสร้างเองก็ได้ ศึกษาจากคนอื่นแล้วมาต่อยอดอีกที
ปรับแก้เอาที่ตัวเองสบายใจ เพื่อความสุขในการลงทุน พูดคำว่า ระบบ บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องซ้บซ้อนมาก ๅจะทำให้การลงทุนยากรึเปล่านะ บางระบบก็เรียบง่าย
เช่น
- MACD ตัดขึ้น ซื้อ ตัดลง ขาย
- MOS >20% ซื้อ MOS <0% ขาย
- DCA ซื้อทุกวันที่5 ของทุกเดือน
มีระบบจะเป็นผู้ชนะระยะยาว ไม่ใช่เพราะระบบดีตั้งแต่แรก แต่การมีระบบจะทำให้เกิดการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีระบบไหนที่สมบูรณ์แบบตั้งแต่ต้น
เมื่อลงทุนตามระบบผิดพลาด เราจะหาจุดอ่อนของระบบ จะเกิดการพัฒนาตามมาทุกครั้ง ระบบแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ
Win rate กับ Return rate จะสูงขึ้นเรื่อยๆ การไม่มีระบบลงทุน จะผ่านไปกี่ปีก็ตาม กลยุทธ์การลงทุนก็ย่ำอยู่กับที่ โชคดีไม่ได้อยู่กับเราตลอดไประบบจะทำให้เราลดเรื่องอารมณ์ลงไปได้
มีจุดซื้อจุดขายที่ชัดเจน
เพื่อที่จะให้การลงทุนอยู่ในเกมของเรา โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีหลายระบบ แต่ต้องมีระบบที่เป็นท่าไม้ตายหรือท่าถนัดอย่างน้อย1ท่า ถ้านึกไม่ออก ลองให้ปู่บัฟเฟตต์ลงทุนโดยใช้สายเทคนิค หรือถ้าปู่แกลงทุนโดยไม่คำนึงถึง MOS
ท่านว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร?
[คำแนะนำข้อที่4] มีวินัยในการลงทุนอย่างเคร่งครัด
นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ นอกจากจะมีการวางแผนที่ดีแล้ว การทำตามแผนที่วางไว้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน

เช่น การขายเมื่อถึงจุดคัทลอสของสายเทคนิค การรอเพื่อให้มีMOSที่ต้องการถึงเข้าซื้อของสายพื้นฐาน
การ DCA ทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อออมหุ้นระยะยาว อย่าให้ความผิดพลาดในการลงทุนระยะสั้น เปลี่ยนเป็นกลยุทธ์การลงทุนในระยะยาวแบบจำยอม อย่าให้อารมณ์ตลาดอยู่เหนือวินัยของตัวเองไปได้ เพราะระยะยาวอารมณ์ตลาดกับผู้แพ้มักจะไปด้วยกัน
ถ้าผู้ชนะไหลไปกับอารมณ์ตลาดเสมอๆ คนลงทุนในหุ้นคงรวยกันเกือบทุกคนไปแล้ว ถ้ามีเซียนหรือใครก็ตาม มาบอกว่าหุ้นนี้ดีนะอย่าเพิ่งเชื่อหรือไม่เชื่อในทีแรก เปิดใจรับฟังเสมอให้ใช้ระบบของเราเข้าไปจับหุ้นก่อนถ้าขัดแย้งกับระบบของเรา หรือทำให้เราเสียวินัยก็หลีกเลี่ยงซะ
เสียดายดีกว่าเสียใจนะ
ความทุกข์จะมาก็ตอนที่ซื้อแล้วราคาลงนี่แหละ ไม่ใช่ซื้อหุ้นตามคนอื่นไม่ได้ แต่ให้ซื้อไอเดียด้วย ลอกหุ้นได้ปลา แต่บางทีก็เป็นปลาเน่า
ลอกไอเดียได้คันเบ็ดไว้จับปลาไม่รู้จบ และอย่าลืม เราไม่กำไรจากหุ้นตัวที่เขาบอกก็ไม่เป็นไร ตราบใดที่เรายังยึดวินัยและระบบของเราเมื่อถึงที่สุดของการลงทุน ความสุขความทุกข์จะหายไปเหลือแค่การทำตามวินัยในระบบของตัวเอง
ซื้อด้วยเหตุผลไหน ก็ขายด้วยเหตุผลนั้น เว้นแต่มีเหตุผลใหม่ที่ดีกว่าเหตุผลเดิม
[คำแนะนำข้อที่5] ตั้งคำถามให้ตัวเองตอบบ่อยๆ
เกี่ยวข้องกับความสุขในการลงทุนได้อย่างไรกัน? ในการลงทุน ทุกข์ส่วนนึงเกิดจากการไม่รู้ บางครั้งถามคนอื่น เราก็ไม่แน่ใจว่าคำตอบจะเชื่อได้แค่ไหน การที่เราจะมีความมั่นใจในการลงทุน เราต้องมั่นใจในข้อมูล

หากข้อมูลนั้นมาจากแหล่งที่วางใจได้ เห็นข้อมูลกับตาตัวเอง ย่อมดีกว่ามีคนอื่นบอกผ่านมาอีกทีนึง การจะหาคำตอบ สิ่งมีค่าที่ได้นอกเหนือจากคำตอบ คือ กระบวนการหรือวิธีการที่จะหาคำตอบ ลองปรับเปลี่ยนการถาม แล้วชีวิตการลงทุนจะเปลี่ยน ตัวอย่างคำถามแบบเดิมๆ
- ตอนนี้หุ้นตัวไหนน่าซื้อ
- หุ้น A เป็นไง
- หุ้น B เป้าเท่าไร
- หุ้น C จะลงต่ออีกไหม
- หุ้น D ซื้อตอนนี้ทันไหม
- หุ้น E กับ F ซื้อตัวไหนดี
- หุ้น G ลงทุนระยะยาวดีไหม
- หุ้น H ถัวเพิ่มหรือคัทลอสดี
- หุ้น I ถือต่อแล้วจะขึ้นไหม
- หุ้น J กำไรดี ทำไมไม่ขึ้น
- หุ้น K ลงแรง มีอะไรที่เราไม่รู้
- หุ้น L ได้รับผลกระทบจากข่าวนี้ไหม
- หุ้น M น่าจะเทินอะราวไหม
ถ้าจะไล่ถึง Z ก็คงได้อยู่ แต่พอดีกว่าที่มีคำถามแบบนี้เพราะเราไม่มีระบบหรือไม่มีวินัย หรือขาดทั้งระบบและขาดทั้งวินัย ถ้าไม่อินกับข้อมูลจริงๆ เมื่อหุ้นที่เราซื้อลงจะเห็นแต่วิกฤตเกิดความทุกข์ จะซื้อเพิ่มก็กลัวลงต่อ จะคัทลอสก็กลัวเด้งไม่เห็นโอกาสที่จะได้ซื้อเพิ่มในราคาที่ถูกลง
แต่ถ้าเราอินกับข้อมูล ก็จะมีความสุขในการซื้อเพิ่มส่วนถ้าไม่มีเงินซื้อเพิ่มก็อาจจะทุกข์อีกแบบคงต้องบริหารเงินลงทุนให้ดีๆด้วย
มีพรแสวงมากๆ แล้วพรสวรรค์จะมาเอง
แน่นอน การจะก้าวข้ามอะไรบางอย่างไม่ใช่เรื่องง่ายลองนึกภาพตัวเองขี่จักรยานหรือว่ายน้ำครั้งแรกก็ได้คำตอบของคำถามA-Zเหล่านี้ ไม่ได้ยากเกินไปนักหากเราตั้งใจจะเอาดีกับการลงทุนหุ้นอย่างจริงจัง
ไม่มีใครเกิดมาแล้วเก่งทันทีมีพรแสวงมากๆ แล้วพรสวรรค์จะมาเอง
##แชร์ปสก.แนวทางการเล่นหุ้น จากห้อง BASIC1
☉คุณมาโนช
แนวทางของผมต้องการผลตอบแทนจากเงินปันผล6% และกำไรจากราคาปรับขึ้น6% รวม12%ต่อปีก็เพียงพอแล้ว
จึงต้องเลือกหุ้นพื้นฐานดีเพราะ ความเสี่ยงจะต่ำและเลือกแต่ละ ธุรกิจไม่เกิน2ตัว เมื่อได้หุ้นเป้า หมายแล้วก็จะรอจังหวะการเข้า
ตอนหุ้นย่อลง และถ้ามีหุ้นตัวใหนติดลบเนื่องจากผลประกอบการมีแนวโน้มแย่ลงก็จะรีบคัท โดยไม่ต้องรอให้ติดลบเยอะๆ
แต่ถ้าหุ้นติดลบจากสภาพตลาด โดยรวมจะยังไม่คัทต้องใจเย็นรอเดี๋ยวมันก็กลับมา อยากให้สมาชิกในกลุ่มไลน์นี้ลองเอาแนวทางนี้ไปใช้จะได้สำเร็จไป พร้อมกันครับ
☉คุณgolf melody ผมขอลองแชร์ สิ่งที่ผมใช้ เผื่อเป็นไอเดียนะครับ
1. ผมบริหารพอร์ทโดย – หุ้น 80% , เงินสด 20%
***ยกเว้นกรณี เจอตัวที่มีจังหวะจริงๆ ก็อาจจะถือเงินสดน้อยลงกว่านี้ แต่ปกติจะรักษาไว้แบบนี้ครับ เพื่อเก็บเงินสดไว้ตอนโอกาสมา หรือมีตัวที่อยากซื้อแต่ราคายังไม่น่าซื้อ
2. ผมมีเป้าหมายชัดเจน 20% ต่อปี คือ ในการถือหุ้นในพอร์ท สมมติ ถือ 8 ตัว เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ
– หุ้นทุกตัวถือในสัดส่วนที่เท่ากัน คือ 10% –> 8 ตัว –> 80%
– เงินสดอีก 20%
*** แต่การที่ผมถือเงินสด ก็จะมีข้อเสียคือ ถ้าผมอยากได้ 20% ผมต้องใช้หุ้น 80% ที่ถืออยู่ ทำผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ 0.2/0.8 = 25% ถึงจะทำให้พอร์ทโดยรวม + มาที่ 20%
แต่ข้อดีคือ ถ้ามีหุ้น 1 ตัว (ถืออยู่ 10%) ขาดทุนที่ 50% จะส่งผลต่อพอร์ทโดยรวมขาดทุนเพียง = 0.1*0.5 = 5%
*** แต่ก็ไม่ใช่ว่าถือหุ้นหลายตัวมากไปจะดีนะครับ เพราะถึงจะช่วยให้ภาพรวมการขาดทุนลดลง แต่ก็ต้องสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยให้มากขึ้น ถึงจะทำให้บรรลุเป้าหมาย และความเสี่ยงอาจสูงขึ้น ถ้าดูแลไม่ถูกหรือไม่เหมาะสม
3. ในการซื้อหุ้น ส่วนใหญ่จะ หา FV รอไว้ + ใส่ %mos เข้าไป เพื่อหาจุดที่น่าซื้อ ไว้ในใจก่อน แล้วก็ค่อยหาจังหวะเข้าที่ดีๆ บางครั้งก็ใช้ ข้อมูลทางเทคนิคซื้อบ้าง แต่ต้องมี จุด stop loss ที่ชัดเจน
4. ผมจะขยับจุด lock กำไรใหม่ทุกครั้ง(ที่ราคาวิ่งเกินเป้าหรือมาใกล้ๆเป้า) เพือรักษากำไรที่ได้ (ถึงบางครั้งอาจจะมีขายหมูไปบ้าง แต่ผมจะแบ่งขายเป็นไม้ๆ ไป เพื่อลดหมู แต่บางทีไม้แรก ดันเป็นจุดสูงสุด ก็มี แต่พอใจก็พอแล้ว)
***จุด stop loss หรือ จุด lock กำไรใหม่ ขึ้นอยู่กับ ผมซื้ิอด้วยอะไร ก็จะใช้สิ่งนั้นกำหนด
*** แต่ถ้าตลาดไม่ชัดเจน บางครั้งก็มีลดสัดส่วนหุ้นลงนะครับ และจะถือเน้นๆตัวที่ปันผลดีๆไว้ก่อน 6%+
*** ลองตั้งเป้าหมายดูครับ แล้วลองเขียนมันขึ้นมาดูก่อนก็ได้ ว่าสิ่งที่เราพอใจคืออะไร และเราจะบริหารมันยังไง เพราะอย่างถ้าผมต้องการ 6% ต่อปี ผมก็เน้นปันผลก็พอ แต่ถ้าผมต้องการ 15% หรือ 20% มันก็จะมีเรื่องเก็งกำไรมาด้วย (ก็ต้องซื้อให้ได้ในราคาที่ปลอดภัยไว้ก่อน)
☉ คุณjoe jesada
ผมลงทุนมา1ปีครึ่ง ขวบปีแรก รู้สึกถึงความสะเปะสะปะมาก แต่อ่านหนังสือพวกออมในหุ้นมาเลยไปลงใน หุ้นปันผล เลยไม่เจ็บตัวครับ เพราะปันผล4-5%บวกแคปเกนพอร์ทรวมอีก5-6%ก็บวกประมาน 10% ครับ
แต่มาครึ่งปีหลังเริ้มจับทางถูก คำนวนราคาด้วยวิธี dvm แล้วรู้สึกว่าค่อนข้างแม่น เดือนพฤศจิกายนไปช้อนหุ้นเด็ดเพิ่มกับจารย์นุ้ย เริ่มมองแบบกล้าถือมากขึ้น เมื่อปลายปีถือว่าชนะตลาดมากพอสมควร หุ้นชุดใหม่ ถือจากปลายปีข้ามมาต้นปีก็ทำกำไรได้8%ละ
แต่ทั้งหมดนี้ ผมใช้เวลากับการศึกษาหุ้น วันละ 3-5 ชม. ทั้งดูยูทูปรายการต่างๆ money talk ,business model,business super coash, oppday
ย่อนหลัง ,หุ้น5up ,สดจากset แล้วก็อ่านข่าว อ่านงบ คำนวนๆๆๆๆ
สรุปแล้วคือต้องทุ่มเทครับ
โดย Khanti | 26 มิ.ย., 2016 | มือใหม่ ลงหุ้น |
ภาวะปัจจุบัน ดอกเบี้ยจากการฝากธนาคารลดต่ำลงรวมถึงกองทุนรวมตราสารหนี้ก็ให้ผลตอบแทนลดต่ำลงเช่นเดียวกัน
นักลงทุนจึงพยายามหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวมอื่นๆ
ซึ่งต้องใช้ทักษะและประสบการณ์รวมถึงการติดตามสถานการณ์ต่างๆรอบด้าน (เพิ่มเติม…)
โดย Khanti | 27 เม.ย., 2016 | บทความแนะนำ, เทคนิคการซื้อหุ้น |
KBANK งบกำไรขาดทุน Q1/57-Q1/59 แม้ว่าจะตามคาดของนักวิเคราะห์ แต่ก็มีข้อสังเกตุ
– รายได้จากประกันภัยเพิ่มขึ้น (+)
– ตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้น (-)

โดย Khanti | 27 เม.ย., 2016 | บทความแนะนำ, เทคนิคการซื้อหุ้น |
หุ้น TMB งบกำไรขาดทุน Q1/57 – Q1/59 งบ Q1/59 มีข้อสังเกตุที่น่าสนใจอะไรบ้าง
เกินคาด? ตามคาด? ผิดคาด?

โดย Khanti | 27 เม.ย., 2016 | บทความแนะนำ, เทคนิคการซื้อหุ้น |
TISCO งบกำไรขาดทุน Q1/57 ถึง Q1/59 ซื้อตอนนี้ได้ปันผลกี่%
ซื้อราคาไหนหวังส่วนต่าง มาดูกัน

โดย Khanti | 27 เม.ย., 2016 | บทความแนะนำ, เทคนิคการซื้อหุ้น |
PYLON VS SEAFCO (***ขอให้ผู้อ่านรับผิดชอบตัวเอง ถ้านำข้อมูลนี้ไปใช้ลงทุน***)
หลังจากมีคำถามเข้ามากว่า หุ้นเสาเข็มเลือกตัวไหนดีระหว่าง PYLON กับ SEAFCO
จึงเปรียบเทียบหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ ให้ดูด้านล่าง ปกติจะดูทีละตัว แต่ครั้งนี้ดูและเปรียบเทียบเป็นข้อๆไปเลย
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ จะเป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุนไม่น้อย
ในภาวะที่จะเกิดโครงการลงทุนของภาครัฐซึ่งส่งผลให้เกิดโครงการใหญ่ๆตามมา
หุ้นกลุ่มแรกที่เป็นแนวหน้าในสายตานักลงทุนจะเป็นกลุ่มรับเหมาขนาดใหญ่ เช่น ITD CK STEC
หุ้นกลุ่มถัดมาจึงเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์เช่นกัน โดยเฉพาะงานเสาเข็มที่เป็นฐานรากของโครงการต่างๆ
นั่นคือ PYLON กับ SEAFCO ที่จะเปรียบเทียบกันในแง่มุมต่างๆ
ก่อนจะเข้าสูการเปรียบเทียบต้องบอกว่าตลาดงานเสาเข็มเป็น ตลาดผู้ขายน้อยราย
สินค้าสามารถทดแทนกันได้ ราคาขายจะใกล้เคียงกัน
สิ่งสำคัญ คือ การแข่งขันกับตัวเองในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มกำไร
ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีก็อาจต้องแย่งลูกค้า เกิดการแข่งขันราคากัน
ลักษณะงานของทั้ง 2 บริษัทจะมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
งานเสาเข็มเจาะ งานกำแพงกันดิน งานปรับปรุงคุณภาพดิน
รายละเอียดขอไม่กล่าวถึงตรงนี้ ถ้าสนใจศึกษาเพิ่มเติมได้จากแบบ 56-1 ของ PYLON หรือ SEAFCO
การรับงานจะต้องทำการประมูล ซึ่งลักษณะงานจะมี 2 ประเภท
รับเหมาค่าแรงและวัตถุดิบ กับ รับเหมาค่าแรงอย่างเดียว
ซึ่งทั้ง 2 บริษัทไม่ได้มีนโยบายที่จะเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
ถ้ารับเหมาค่าแรงและวัตถุดิบก็จะสั่งวัตถุดิบทีเดียวและสะท้อนไปที่ราคารับเหมาแต่แรก
ซึ่งลักษณะงานแต่ละงานมีระยะเวลาที่สั้น 3-5 เดือน ความผันผวนของราคาวัตถุดิบจึงส่งผลไม่มาก
สำหรับวัตถุดิบหลักในงานประกอบด้วย คอนกรีต เหล็กเส้น น้ำมันดีเซล เบนโทไนท์ โพลิเมอร์
[เปรียบเทียบ 1] : กำลังผลิต
ในด้านกำลังผลิต ดูจำนวนเครื่องจักรของทั้ง 2 บริษัท เปรียบเทียบคร่าวๆ

จะเห็นชัดเจนว่ากำลังผลิตของ SEAFCO มากกว่า PYLON
งานเสาะเข็ม SEAFCO ย่อมรับงานได้มากกว่ากัน 2 เท่า
งานก่อสร้างกำแพง D-Wall ทาง SEAFCO ย่อมเหนือกว่าอย่างเทียบกันไม่ติด
ในแง่กำลังผลิต SEAFCO ได้เปรียบ PYLON
[เปรียบเทียบ 2] : ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ผู้ถือหุ้นใหญ่ล่าสุด เดือนมีนาคม 2559

จะเห็นว่า PYLON มีผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนที่สูงกว่า SEAFCO
แสดงว่า PYLON เจ้าของเดิมยังหวงความเป็นเจ้าของอยู่ค่อนข้างมาก
ขณะที่ SEAFCO มีการถือหุ้นของนักลงทุนรายย่อยที่ 62.39% สูงกว่า PYLON ที่ 38.55%
ทำให้ PYLON ได้เปรียบในการตัดสินใจต่างๆในการดำเนินธุรกิจ
ในแง่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ PYLON ได้เปรียบ SEAFCO
[เปรียบเทียบ 3] : อัตราส่วน D/E
อัตราส่วน D/E เป็นการแสดงถึงสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ถ้า D/E > 2 ถือว่า หนี้สินสูง
ถ้า D/E ระหว่าง 1 ถึง 2 ถือว่าหนี้สินค่อนข้างสูง
ถ้า D/E ระหว่าง 0.5 ถึง 1 ถือว่าหนี้สินค่อนข้างต่ำ
ถ้า D/E < 0.5 ถือว่า หนี้สินต่ำ
การที่หนี้สินต่ำจะมีประโยชน์ในหลายทาง เช่น
ต้นทุนทางการเงินจะน้อย หรือ การลงทุนใหม่ๆในอนาคตจะสามารถกู้เงินได้ง่าย

สิ้นปี58 D/E ratio ของ PYLON = 0.28 SEAFCO = 0.83
PYLON หนี้สินต่ำทีเดียว ขณะที่ SEAFCO หนี้สินไม่สูงมาก
ในแง่หนี้สินถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO
[เปรียบเทียบ 4] : ต้นทุนทางการเงิน
ต้นทุนทางการเงินเป็นอีกแง่นึงถัดจากหนี้สิน
แต่การเปรียบเทียบต้องเทียบกับขนาดของบริษัทนั้นๆ
จึงนำมาเทียบกับรายได้ของแต่ละบริษัทเป็นอัตราส่วนอีกที

จะเห็นว่าต้นทุนทางการเงินเทียบกับรายได้ของทั้ง 2 บริษัทต่ำทีเดียว
ถ้าเทียบกันแล้ว PYLON = 0.19% SEAFCO = 0.82%
ในแง่ต้นทุนทางการเงินถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO
[เปรียบเทียบ 5] : สภาพคล่อง Current ratio
การวัดสภาพคล่องของแต่ละบริษัทจะดูที่ Current ratio
โดยคำนวณจาก Current ratio = ทรัพย์สินหมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
ทรัพย์สินหมุนเวียน คือ ทรัพย์สินที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี
หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี
ถ้า Current ratio > 2 ถือว่า สภาพคล่องสูง
ถ้า Current ratio ระหว่าง 1 กับ 2 ถือว่า สภาพคล่องปานกลาง
ถ้า Current ratio < 1 ถือว่า สภาพคล่องต่ำ

Current ratio ของทั้ง 2 บริษัท มากกว่า 1 ทั้งคู่ ถือว่า ไม่มีปัญหาสภาพคล่อง
ถ้าเทียบกันแล้ว PYLON = 3.64 SEAFCO = 1.43
ถ้าลงดูรายละเอียดของทรัพย์สินหมุนเวียน

จะเห็นว่า เงินสดและเงินลงทุนชั่วคราว ที่เป็นสามารถใช้ได้ทันที
PYLON = 542 ล้านบาท SEAFCO = 177 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือของทรัพย์สินหมุนเวียนจะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องไปเก็บเงินอีกทีนึง จึงยังไม่สามารถใช้ได้ทันที
ในแง่สภาพคล่องถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO
[เปรียบเทียบ 6] : วงจรเงินสด
ในธุรกิจประเภทเดียวกัน ถ้าใครที่มีวงจรเงินสดสั้นกว่าย่อมได้เปรียบคู่แข่ง
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันกับพบสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้

PYLON ระยะเวลาเก็บหนี้ 35 วัน สั้นกว่า ระยะเวลาชำระหนี้ 53 วัน
SEAFCO ระยะเวลาเก็บหนี้ 120 วัน ยาวกว่า ระยะเวลาชำระหนี้ 95 วัน
ในขณะที่ระยะเวลาขายสินค้าอยู่ที่ 20 วัน ไม่แตกต่างกันมาก
จึงทำให้วงจรเงินสดของ PYLON = 35 + 18 – 53 = 0 วัน SEAFCO = 120 + 20 – 95 = 45 วัน
ในแง่วงจรเงินสดถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO
[เปรียบเทียบ 7] : อัตรากำไร
อัตรากำไรเป็นสิ่งที่แสดงว่ามีการบริหารจัดการต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่าย เพื่อให้เกิดกำไร
ลักษณะงานมี 2 แบบหลักๆ คือ แรงงาน+ค่าวัตถุดิบ กับ แรงงานอย่างเดียว
โดยที่ แรงงาน+ค่าวัตถุดิบ จะมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ต่ำกว่า แรงงานอย่างเดียว
เพราะวัตถุดิบจะเกิดกำไรไม่มาก เนื่องจากแต่ละโครงการสั้นและบริษัทไม่เก็งกำไรจากราคาวัตถุดิบ
อัตราส่วนของลักษณะงาน ดังนี้

จะสังเกตว่า PYLON มีสัดส่วนของ แรงงาน+ค่าวัตถุดิบ สูงกว่า SEAFCO ทั้งปี57และ58
อัตรากำไรขั้นต้นของ PYLON จึงน่าจะต่ำกว่า SEAFCO แต่ผลที่ได้เป็นดังนี้

จะเห็นว่า อัตรากำไรขั้นต้นของ PYLON เพิ่มขึ้นและสูงกว่า SEAFCO
แม้ว่าลักษณะงานของ PYLON จะมีสัดส่วน แรงงาน+ค่าวัตถุดิบ มากกว่า SEAFCO
ซึ่งน่าจะให้ค่าอัตรากำไรขั้นต้นที่ต่ำกว่า
และนำมาซึ่งอัตรากำไรสุทธิที่ PYLON สูงกว่า SEAFCO ตามภาพด้านล่าง

ถ้าดูการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆหลังกำไรขั้นต้นกันบ้าง

สังเกตว่าใกล้เคียงกันประมาณ 8%–9% ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา
ในแง่ค่าใช้จ่ายต่างๆโดยรวมๆถือว่า ทัดเทียมกัน
โดยรวมในแง่อัตรากำไรถือว่า PYLON ได้เปรียบกว่า SEAFCO จากจุดชี้ขาดที่อัตรากำไรขั้นต้น
จากนี้ลองดูความถูกแพงเทียบกับราคาหุ้นบ้าง
[เปรียบเทียบ 8] : แนวโน้มกำไรและ P/E
แนวโน้มปี59 ในมุมมองของผู้บริหารทั้ง PYLON และ SEAFCO
ยังอยู่ภายใต้ที่ทรงตัวและมีมุมมองบวกต่อการลงทุนภาครัฐในช่วงครึ่งปีหลังของปี59
แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารยังคาดการณ์ผลประกอบการปี59ใกล้เคียงปี58
เช่นนั้น การเปรียบเทียบค่า P/E จึงอยู่บนสมมติฐานอนุรักษ์นิยมตามผู้บริหาร
แม้ว่านักวิเคราะห์สถาบันต่างๆจะให้คาดการณ์กำไรเพิ่ม 10%-15% ก็ตาม
จากราคาปิดวันที่ 12 เมษายน 59 PYLON = 10.40 SEAFCO = 8.90
สมมติให้ EPS ปี59 เท่ากับ ปี58 PYLON = 0.54 SEAFCO = 0.50
ค่า P/E จึงเป็นดังนี้

จะเห็นว่า ค่า P/E ของ PYLON สูงกว่า SEAFCO ภายใต้สมมติฐานผลประกอบการอนุรักษ์นิยม
จึงมองว่า ค่า P/E ของ SEAFCO น่าสนใจกว่า PYLON
[เปรียบเทียบ 9] : P/BV
ลองเปรียบเทียบราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าทางบัญชีกันดูบ้าง

จะเห็นว่า ค่า P/BV ของ PYLON สูงกว่า SEAFCO ภายใต้ธุรกิจแบบเดียวกัน
จึงมองว่า ค่า P/BV ของ SEAFCO น่าสนใจกว่า PYLON
[เปรียบเทียบ 10] : อัตราปันผล
บนสมมติฐานผลประกอบการปี59เท่าปี58 และอัตราจ่ายปันผลเท่าเดิม
จะได้อัตราปันผล ดังนี้

จะเห็นว่า Yield (%) ของ PYLON สูงกว่า SEAFCO อย่างมีนัยสำคัญ
ดูสรุปทั้ง 10 หัวข้อที่ทำการเปรียบเทียบได้ผลดังนี้

ถ้าให้เลือกตัวนึงตอนนี้ เลือก PYLON
โดย Khanti | 15 มี.ค., 2015 | มือใหม่ ลงหุ้น, เทคนิคการซื้อหุ้น |
ทางเลือกการลงทุนในภาวะดอกเบี้ยขาลง กับ หุ้นปันผลสูง 2015 บทความโดยคุณ Khanti นักเรียนอบรมช้อนหุ้นเด็ด รุ่น20
วันที่ 11 มี.ค. 2558 กนง.มีมติให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 2.00% เหลือ 1.75% ทำให้ มีความเสี่ยงที่ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยลง เป็นผลพวงให้การฝากเงินกับธนาคารได้ผลตอบแทนต่ำลงด้วย ซึ่งมีคำถามว่าจะลงทุนอะไรดีที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าและ มีทางเลือกอะไรบ้างนอกจากฝากธนาคาร
(เพิ่มเติม…)