โดย พรพรหม ภักตร์เปี่ยม | 5 ต.ค., 2015 | ทำไม เจ๊งตลอด, บทความแนะนำ, วิธีการอ่านงบบริษัท, เทคนิคการซื้อหุ้น |
BTS (บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย) ประกาศงบงวด 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ผมเจอบรรทัดหนึ่งในงบการเงินเขียนเกี่ยวกับเรื่อง กำไรจากการแลกหุ้น จำนวนถึง 3,458.51 ล้านบาท คิดเป็น 68% ของรายได้ทั้งหมด หากตัดรายการนี้ออก รายได้รวมของ BTS ลดลงถึง -21.2% เรื่องนี้น่าสนใจขึ้นมาหรือยังครับ (เพิ่มเติม…)
โดย พรพรหม ภักตร์เปี่ยม | 17 มิ.ย., 2015 | HMPRO, บทความแนะนำ, วิธีการอ่านงบบริษัท |
HMPRO เปิดดูรายได้ และ กำไร 7 ปีย้อนหลังคงต้องยืนขึ้นปรบมือให้กับความสมบูรณ์แบบของการสร้างรายได้ ควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่าย และ สุดท้ายเป็นกำไรที่เติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
|
31-12-2551
|
31-12-2552
|
31-12-2553
|
31-12-2554
|
31-12-2555
|
31-12-2556
|
31-12-2557
|
รวมรายได้
% เติบโต |
19,824.2 |
21,799.1
9.96%
|
25,914.9
18.88%
|
30,502.4
17.7%
|
36,969.3
21.2%
|
42,830.2
15.85%
|
51,208.6
19.56%
|
กำไรขั้นต้น/รายได้ % |
28.64% |
29.38% |
30.34% |
30.91% |
30.86% |
31.48% |
30.73% |
ค่าใช้จ่าย/รายได้ % |
20.99% |
21.05% |
20.87% |
20.67% |
20.98% |
21.72% |
21.59% |
กำไรสุทธิ
% เติบโต |
959.4 |
1,142.9
20%
|
1,638.4
44%
|
2,005.4
23%
|
2,670.8
34%
|
3,068.5
15%
|
3,313.3
8%
|
PE |
|
|
|
33.32 |
36.36 |
29.90 |
31.67 |
PE/G |
|
|
|
1.44 |
1.06 |
2 |
3.96 |
ที่ผ่านมาจึงทำให้ HMPRO นั้นเต็มไปด้วยความคาดหวัง จึงดันให้ P/E ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปี 2557 อยู่ที่ค่าเฉลี่ยสูงกว่า 30 เท่า ซึ่งหากดูความเป็นไปได้ตามหลัก PE/G แล้ว ตั้งแต่ปี 2554 – 2557 จะเห็นว่าปี 2556 และ 2557 นั้น อัตราการเติบโตของ HMPRO ลดลงจากระดับ 30% มาอยู่ที่ 15% และ 8% ทำให้ค่า PE/G ในช่วงปี 2556 และ 2557 เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจอยู่ที่ 2 และ 3.96 เท่า นั่นหมายความว่า HMPRO นั้นเริ่มแพงมาตั้งแต่ปี 2556 (ใช่หรือไม่ ? )
ปี 2556 เปิดธุรกิจใหม่นามว่า “Mega Home”
ในปี 2556 HMPRO เปิดธุรกิจใหม่นามว่า “Mega Home” ทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าวัสดุก่อสร้างมีสินค้าประมาณ 35% ที่ทับซ้อนกับ Home Pro และเป็นการเปิดทีเดียว 4 สาขาไล่ไปจนถึงต้นปี 2557 ผลที่ตามมาคือ ในปี 2556 ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 21.72% จากค่าเฉลี่ยเดิมๆ ที่ 21% ใช่ครับ !! แค่นิดหน่อยเองแต่ด้วยฐานของปี 2555 ที่ทำกำไรไว้สูง ทำให้ปี 2556 กำไรจึงเติบโตขึ้นเพียง 15% ซึ่งจุดนี้ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก
ปี 2557 เปิดสาขาต่างประเทศครั้งแรกที่ มาเลเซีย
ในปี 2557 Home Pro บุกมาเลเซียสาขาแรก ซึ่งจุดนี้เองครับเป็นจุดที่ทำให้การเติบโตของกำไร เริ่มชะงักลงและส่งผลถึงต้นปี 2558 ทำให้ กำไรในรอบ Q1/2558 YoY% เติบโตเพียง 1% และเป็นเหตุให้ ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ที่ 6.45 บาทต่อหุ้น (17 มิ.ย. 2558) ลองมาดูกำไร Q1 ในแต่ละปีเทียบ YoY% กันบ้าง
|
31-03-2555 |
31-03-2556 |
31-03-2557 |
30-06-2557 |
30-09-2557 |
31-12-2557 |
31-03-2558 |
รวมรายได้ |
8,988.1 |
10,025.9 |
11,826.2 |
12,788.2 |
12,615.7 |
13,978.4 |
13,096.3 |
กำไรขั้นต้น/รายได้ % |
29.64% |
30.65% |
30.74% |
30.79% |
30.41% |
30.95% |
30.47% |
ค่าใช้จ่าย/รายได้ % |
20.38% |
21.41% |
21.95% |
22.17% |
21.59% |
20.77% |
22.38% |
ดอกเบี้ยจ่าย |
-29.2 |
-49.7 |
-100.9 |
-106.0 |
-127.7 |
-131.4 |
-136.3 |
กำไรสุทธิ |
610.3 |
691.5 |
725.7 |
792.8 |
766.2 |
1,028.7 |
733.7 |
กำไร YOY% |
|
+13% |
+5% |
+9% |
+6% |
+11% |
+1% |
หนี้สินรวม |
|
16,565.9 |
24,642.0 |
25,652.2 |
26,343.6 |
28,611.2 |
29,581.6 |
จากตารางจะเห็นว่าในรอบ Q1/2558 เทียบ YoY% มีรายได้เพิ่มขึ้น 10.73% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยปกติ แต่กำไรนั้นเพิ่มขึ้นเพียง 1% ซึ่งเป็นผลมาจากกำไรขั้นต้นที่ลดลงมาที่ 30.47% (ยังถือว่าปกติ) แต่ค่าใช้จ่ายขึ้นไปที่ระดับ 22.38%
นอกจากนั้นปัจจัยที่สำคัญอีก 1 ข้อซึ่ง CPALL เคยพบปัญหานี้มาแล้วคือ ดอกเบี้ยจ่าย หรือ ต้นทุนทางการเงิน ซึ่งในรอบ Q1/2557 เป็นต้นมานั้นมีภาระจ่ายเพิ่มขึ้น 100% และ กำลังไต่ระดับไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนอย่างหนัก และ ต่อเนื่องจากปี 2556 และ 2557 ที่ผ่านมา ลองไปดูหนี้สินกันบ้าง
หนี้สินจากปี Q1/2556 ไปถึงต้นปี Q1/2557 เพิ่มขึ้น 48.76% และ Q1/2557 ไปถึงต้นปี Q1/2558 เพิ่มขึ้น 20.04% และ แนวโน้มดูมีทีท่าจะเพิ่มขึ้นด้วยเนื่องจากทาง HMPRO เองยังต้องการเงินลงทุนอีกมากในปี 2558 โดยมีแผนที่จะลงทุนดังนี้

HomePro เพิ่ม 7-8 สาขา ต้นปีเปิดไปแล้วที่ สุโขทัย หากเป็นไปตามเป้าจะมีสาขารวม 79 สาขา
MegaHome เพิ่ม 3-4 สาขา หากเป็นไปตามเป้าจะมีสาขารวม 7-8 สาขา
HomePro มาเลเซีย อยู่ระหว่างตัดสินใจอีก 1 สาขา หากเป็นไปตามเป้าจะมีสาขารวม 2 สาขา ดูรายละเอียดการเปิดสาขา คลิกที่นี่ โฮมโปรมาเลเซีย

โฮมโปรมาเลเซีย
หากไม่รวมสาขาที่มาเลเซียเท่ากับจะต้องลงทุนทั้งหมด 12 สาขา จะต้องใช้เงินลงทุนอย่างน้อยสาขาละ 350 ล้าน ซึ่งเท่ากับต้องใช้เงินถึง 4,200 ล้าน ที่ผ่านมาลงทุนและกู้เงินอย่างไรบ้างไปดูในงบกระแสเงินสดกัน
|
31-12-2552 |
31-12-2553 |
31-12-2554 |
31-12-2555 |
31-12-2556 |
31-12-2557 |
31-03-2558 |
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน |
2,454.2 |
2,624.6 |
3,830.5 |
3,434.5 |
5,193.4 |
4,912.8 |
1,539.1 |
เงินสดจากการลงทุน |
-901.0 |
-2,005.7 |
-3,418.7 |
-5,667.2 |
-9,661.5 |
-7,060.9 |
-1,291.4 |
รวมหนี้ที่ออก |
1,045.0 |
1,702.3 |
1,000.6 |
2,810.7 |
6,364.3 |
6,050.0 |
1,000.0 |
รวมหนี้ชำระคืน |
-1,530.1 |
-1,140.3 |
-730.0 |
-300.0 |
-2,100.0 |
-1,960.9 |
-2.5 |
จากตารางงบกระแสเงินสดท่านจะเห็นว่าปีช่วงปี 2555- 2556 บริษัทเริ่มลงทุนมากขึ้นจาก Mega Home และ ในปี 2556- 2557 ลงทุนเพิ่มเติม HomePro ที่มาเลเซีย รวมถึงสาขาในไทยด้วยเช่นกัน ทำให้มีใช้เงินลงทุนเกินกว่าเงินสดสุทธิที่ได้มาจากการดำเนินงานถึงเกือบ 2 เท่าตัว เป็นที่มาของการแบกภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง และ ในช่วง Q1/2558 จะเห็นว่ามีการกู้ออกมาแล้ว 1,000 ล้านบาท และเพื่อให้เพียงพอต่อการขยายสาขาเพิ่มปีนี้คงเป็นปีที่หนักหน่วงของ HMPRO แน่นอน
ในการคำนวณราคาที่เหมาะสมจะใข้สมมุติฐาน บนตัวแปรที่มียอดขายเติบโต 15% (ค่าเฉลี่ยรายได้ย้อนหลัง7 ปี และ ตามข่าว)
จากข่าว “โฮมโปร” HMPRO ตั้งเป้ายอดขายปี 58 โต 15% ลุยเปิดเพิ่ม 8 สาขา ทุ่มงบลงทุน 300-500 ล้านบาทต่อสาขา เล็งเปิดสาขามาเลเซียอีก 1 แห่ง ล่าสุดทุ่มงบกว่า 120 ล้านบาท จัดงาน HomePro EXPO 21 ตั้งเป้ากวาดยอดขาย 650 ล้านบาท
รายได้ 51,208.6 ล้านบาทเพิ่ม 15% = 58,889.89 ล้านบาท
คิดอัตรากำไรสุทธิ 5.6% ซึ่งถือว่าเป็นอัตรากำไรสุทธิต่ำที่สุดในรอบหลายปีเลยทีเดียว
คิดเป็นกำไรเท่ากับ 58,889.89 x 5.6% =3,297.83 ล้านบาท
Q1/2558 บริษัททำกำไรไปแล้ว 733.7 ล้านบาท
Q2-Q4/2558 เหลือกำไรคาดการณ์ 2564.13 คิดเป็นกำไรต่อหุ้นใหม่หลังปันผลเป็นหุ้นแล้ว = 0.20 บาทต่อหุ้น
รวมแล้วกำไรต่อหุ้นคาดการณ์ทั้งหมด = 0.26 (0.06+0.20)
P/E ที่เลือกมี 2 ค่าตามปัจจัยความคาดหวังของ HMPRO
ปัจจัยแรก ตามระดับค่าเฉลี่ยคือ 29 เท่า ราคาที่เหมาะสม 7.54 บาทต่อหุ้น
– หากบริษัทสามารถลดหนี้ลงได้อย่างต่อเนื่อง (ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะทำ)
– เร่งรายได้ให้มากขึ้นเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น (ควรโตมากว่า 15% )
– บริหารค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (คิดว่าตอนนี้ก็เต็มกลืนแล้วเหมือนกัน)
– ชะลอการลงทุนบ้าง (อาจทำให้การเติบโตของรายได้ลดลง)
ปัจจัยที่สอง P/E ตลาดปัจจุบัน 25 เท่า ราคาที่เหมาะสม 6.5 บาทต่อหุ้น
– บริษัทยังไม่สามารถเพิ่มรายได้มากกว่า 15% ได้
– บริษัทยังไม่สามารถลดค่าใช้จ่ายการบริหาร และ ดอกเบี้ยลงได้
โอกาส
1. ราคาหุ้นไม่ถูกไม่แพง
2. บริษัทที่มีวงจรเงินสดแข็งแกร่ง มีอำนวจต่อรองสูง
3. เมื่อบริษัทเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวจะสร้างรายได้มากขึ้น และ สร้างความได้เปรียบมากขึ้น แต่อาจจะอยู่ในระยะ 2-3 ปีต่อจากนี้
ความเสี่ยง
1. สาขามาเลเซียอาจไม่รุ่ง (ซึ่งผมภาวนาให้เป็นแบบนั้น กลับมาตั้งหลักกันใหม่ก็ได้)
2. อำนาจการใช้เงินของคนในประเทศลดต่ำลง จากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม (แต่ 2-3 ปีข้างหน้าคาดว่าน่าจะดีขึ้นเป็นลำดับ)
3. ภาวะค่าเสื่อม และ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่อาจทำให้กำไรไม่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ราคาหุ้นลดลง
4. ลดการจ่ายปันผลเป็นหุ้น และ เงินสดลง
แนวทางที่จะเป็นไปได้มากที่สุดคือ ราคาเหมาะสมคือ 6.5 ซึ่งปัจจุบันราคา 6.45 (17 มิ.ย. 2558) ถือเป็นราคาที่สอดคล้องกับอารมณ์ตลาดมากที่สุด หากซื้อราคา 6.45 – 6.5 ถือว่าไม่มีส่วนลดในการซื้อหรือไม่มี MOS% เลยแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว ซึ่งในมุมมองผมมองเป็นโอกาสมากกว่าความเสี่ยง ซึ่งผมยอมรับได้ในความเสี่ยงข้างต้นถ้าแรกกับผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้นในช่วงเก็บเกี่ยวอย่างเต็มที่ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ย้ำว่าซื้อแล้วอาจต้องรอครับ
ในอีก 3 ปีข้างหน้าอาจจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามองว่ารายได้ยังเติบโตที่ระดับ 15% และ มีอัตรากำไรสุทธิดีขึ้นอยู่ในระดับเฉลี่ย 6.5%
รายได้ปี 2558 = 58,889.89 ล้านบาท
รายได้ปี 2559= 67,723.37 ล้านบาท
รายได้ปี 2560 = 77,881.88 ล้านบาท
คิดอัตรากำไรสุทธิ 6.5% อัตรากำไรสุทธิดีขึ้นอยู่ในระดับเฉลี่ย
คิดเป็นกำไรเท่ากับ 77,881.88 x 6.5% =5,062.32 ล้านบาท
คิดเป็นกำไรต่อหุ้นใหม่หลังปันผลเป็นหุ้นแล้ว = 0.39 บาทต่อหุ้น
P/E ตลาดปัจจุบัน 25 เท่า ราคาที่เหมาะสม 9.75 บาทต่อหุ้น (ราคาปัจจุบัน 6.45) คิดเป็นส่วนต่างราคา 51.16% เฉลี่ยกำไร 17% ต่อปี
P/E ตลาดปัจจุบัน 29 เท่า (เฉลี่ย) ราคาที่เหมาะสม 11.31 บาทต่อหุ้น (ราคาปัจจุบัน 6.45) คิดเป็นส่วนต่างราคา 75.35% เฉลี่ยกำไร 25.12% ต่อปี
“สรุปสุดท้าย HMPRO ซื้อวันนี้เหมาะกับการซื้อสะสมในระยะยาวเท่านั้นครับ”
โดย พรพรหม ภักตร์เปี่ยม | 14 พ.ค., 2015 | มือใหม่ ลงหุ้น, วิธีการอ่านงบบริษัท, เทคนิคการซื้อหุ้น |
MINT Q1/58 ประกาศงบ กำไรเพิ่มขึ้น YoY% = 51.88% คิดเป็นกำไรเพิ่มขึ้น
** ข้อสังเกตุ *
จากการประกาศงบการเงินที่ผ่านมา MINT มีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 51.88% แต่ลองถอดตัวเลขบางตัวออกแล้ว เติบโตจริง 4% เท่านั้น
รายได้
รายได้ส่วนที่น่าสังเกตุคือ รายได้อื่นๆ ที่มากถึง 778 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้มาจากการที่บริษัทเองได้เข้าซื้อโรงแรมได้ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทจึงมีผลให้มีการประเมินมูลค่ายุติธรรมออกมาเป็นจำนวนเงิน 680 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้ไม่มีต้นทุนจึงถือว่าเป็นกำไรของบริษัทเพรียวๆ
หากตัดตัวเลขนี้ออกไปบริษัทแจ้งกำไรไว้ที่ 2,156.820 ล้านบาท นำมาลบกับรายได้จากการประเมินค่ายุตธรรมออกไป 680 ล้านบาทจะเหลือกำไรจริงอยู่ 1476 ล้านบท ซึ่งคิดเป็นการเติบโตจากไตรมาส 1/57 เท่ากับ 4%

กำไรจากการซื้อธุรกิจในราคาต่ำกว่าค่ายุติธรรม
สังเกตุจากรูด้านบนจะเห็นค่า กำไรจากการซื้อธุรกิจในราคาต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ประมาณ 680 ล้าน กำไรขั้นต้น/รายได้ และ ค่าใช้จ่าย / รายได้ ไม่มีปัญหาอะไรครับยังจัดอยู่ในเกณฑ์ที่สม่ำเสมอดีมาก
** ควรระวัง !! การประเมินราคาที่เหมาะสม
สิ่งที่ต้องระวังสำหรับ MINT คือ การหากำไรเพื่อมาคำนวณราคาที่เหมาะสม หากเอากำไรที่ตัดมูลค่ายุติธรรมออกแล้ว จะเท่ากับ 1,476 ล้านบาท High Season ของกำไรจะอยู่ในช่วง Q1 และ Q4 ส่วน Q2 และ Q3 ตัวเลขกำไรจะเป็น 35% ของ High Season ซึ่งเท่ากับ Q2 และ Q3 = 516.6 ล้านบาท (ปัดเป็น 516 ล้านบาท / หุ้นทั้งหมด 4402 ล้านหุ้น = 0.12 บาทต่อหุ้น)

งบกำไรขาดทุน หุ้น MINT Q1/2558
โอกาสของ MINT
กลุ่ม MINT มีการเพิ่มการลงทุนในโรงแรมต่างประเทศมากขึ้นที่ผ่านมามีการจ่ายเงินไปมากกว่า 5,000 ล้านเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมมีทั้งควบรวมเป็นบริษัทย่อย และ ร่วมทุนด้วย % การถือครองหุ้นที่แตกต่างกัน
เข้าไปดูธรุกิจของกลุ่ม SUN ที่ MINT ซื้อได้ที่ Sun International
ธุรกิจโรงแรม เติบโต 18.66% คิดเป็น 39% จากเดิมเป็นเพียง 35% ของรายได้รวมทั้งหมด
ธุรกิจอาหาร เติบโต 5.16% คิดเป็น 37% จากเดิมมี 39% ของรายได้รวมทั้งหมด
ทิศทางการเติบโตของ Mint อาจต้องฝากไว้ที่ธุรกิจท่องเที่ยว และ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่น่าจะเป็นหัวหอกสำคัญในการเติบโตในอนาคต
โดย พรพรหม ภักตร์เปี่ยม | 13 มี.ค., 2014 | BGH, ข่าวหุ้น, วิธีการอ่านงบบริษัท |
BGH ปันผลงวดการดำเนินงานปี 2556 จำนวน 2 บาท โดยกำหนดสิทธิ์ที่ไม่ได้รับเงินปันผล XD วันที่ 25 มี.ค. 2557 และ มีกำหนดจ่ายปันผลในวันที่ 02 พ.ค. 2557 นับเป็นการจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วจำนวน 1.8 บาท ถึง 11% เป็นการจ่ายจาก งวดดำเนินงานวันที่ 01 ม.ค. 2556 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2556 และกำไรสะสม ซึ่งเป็นเงินสดที่บริษัทมีอยู่ในงบดุล
ประเด็นที่สำคัญต่อมาคือ การเพิ่มทุน และ การแตกพาร์ของบริษัทจาก พาร์ 1 บาท เหลือ 0.1 บาท จะทำให้เกิดอะไรขึ้น
(เพิ่มเติม…)
โดย พรพรหม ภักตร์เปี่ยม | 4 มี.ค., 2014 | AI, วิธีการอ่านงบบริษัท |
มีหลายท่านเกรงว่าหุ้น AI จะเป็นหุ้นปั่น หรือ กับดักหลุมพราง ให้เข้าไปติดดอยหรือไม่อย่างไร ก่อนที่ท่านจะอ่านเนื้อหา ผมสรุปส่วนหัวไว้ก่อนว่า การที่หุ้นดีดขึ้นไปมากมายก่อนปักหัวลงมาในวัน XD ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้มีประเด็นอะไรที่ต้องกังวลเพราะวัน XD จะเป็นวันที่ไม่ได้รับสิทธิ์เงินปันผล ราคาหุ้นจะร่วงลงมาโดยเฉลี่ยเท่ากับอัตราที่จ่ายปันผล

งบกำไรขาดทุน หุ้น AI
(เพิ่มเติม…)
โดย พรพรหม ภักตร์เปี่ยม | 28 ก.พ., 2014 | CPF, วิธีการอ่านงบบริษัท |
หุ้น CPF บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หลังจากประกาศงบการเงินปี 2556 มีข่าวมากมายเกี่ยวกับบริษัท มีคนถามถึงในห้อง Line และ กรุ๊ปบน Facebook ผมเลยนำมาให้ดู โดยสรุปแล้วผมมุ่งเป้าไปที่ต้นทุนทางการเงินเป็นหลัก ส่วนเรื่องของ รายได้ที่จะรับรู้ในอนาคตจะกี่แสนล้านบาท ส่วนนั้นท่านหาอ่านตามบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ หรือ ข่าวจากทางบริษัทได้เองเลยครับ
บัญชีงบดุล ย้อนหลัง 
(เพิ่มเติม…)
โดย พรพรหม ภักตร์เปี่ยม | 26 ก.พ., 2014 | มือใหม่ ลงหุ้น, วิธีการอ่านงบบริษัท |
เงินสดมีน้อยก็ไม่ดี มีมากก็ไม่ดี แต่มีมากเค้าเรียกว่า Happy Problem เป็นปัญหาที่สุขแท้เพราะจะเลือกนำไปใช้จ่ายอะไรก็คล่องตัวเหลือเกิน บริษัทที่นำมาให้ดูวันนี้เป็นบริษัทที่มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวนมากกว่า หนี้สินรวม
ขอย้ำอีกทีว่าหนี้สินรวมไม่ใช่หนี้สินหมุนเวียน นั่นเท่ากับว่าบริษัทไม่จำเป็นต้องจำหน่ายทรัพย์สินใดๆ มาเพื่อใช้หนี้ลำพังเพียงเงินสดอย่างเดียวก็ชิวแล้ว ตารางด้านล่างคือ ปีล่าสุดที่นำมาให้ดูหลังจากประกาศงบการเงินแล้ว ยกตัวอย่าง DELTA ขึ้นบัญชีเป็นอันดับ 1 บริษัทที่มีเงินสดเพียบ สินทรัพย์รวมทั้งหมดของ DELTA มีถึง 36,800 ล้านบาท แต่มีเงินสดและเทียบเท่าเงินสดถึง 14,952 ล้านบาท คิดเป็น 40.63% ของสินทรัพย์รวม
(เพิ่มเติม…)
โดย พรพรหม ภักตร์เปี่ยม | 15 ต.ค., 2013 | วิธีการอ่านงบบริษัท |
“กระแสเงินสด” เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำนายอนาคตของ บริษัทได้ว่าทิศทางการทำกำไรมีแนวโน้มไปในทิศทางใด
งบลงทุนหรือ กิจกรรมการลงทุน หากบริษัทไหนที่ไม่ต้องลงทุนมาก แต่มีกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริษัทนี้น่าลงทุนสุดๆ แต่น้อยมากที่จะเจอ และ น่าจะเป็นบริษัทที่ผูกขาดทรัพยกรบางอย่างไว้ ซึ่งนั่นก็คงไม่ใช่เรื่องดีในระยะยาวสักเท่าใดนัก …
ลองส่องหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล BGH RAM BCH งวด 6 เดือนมาดูกันว่า ลักษณะการลงทุนของทั้ง 3 โรงพยาบาลนี้มีแนวโน้มจะไปในทิศทางใด

1.) เยอะสุด คือ -4253.25 ล้านบาท แต่ว่าก็ต่ำกว่างวดเดียวกันเทียบกับปีที่แล้ว เต็มปีอาจได้เห็น -8,000 ล้านก็ถือว่า เฉียดๆเท่าปี 55 เงินสดรับจากการจำหน่ายตราสารหนี้ ก็มีเช่นกัน แล้วนำเงินสด ส่วนหนึ่งกับเงินกู้ตราสารหนี้มาลงทุน เป็นการลงทุนต่อเนื่อง เพื่อขยายอณาจักตรของบริษัท ลงทุนได้โหดน่าดูครับ แนวโน้มดูแล้ว รายได้ที่จะเพิ่มขึ้นมาแน่นอนในอีก 1-2 ปีข้างหน้านี้

2.) ลองลงมาคือ -1073 ล้านบาท แต่ว่าสูงกว่างวดก่อนๆมาก ที่ผ่านมาเทียบกับ -200 ล้านบาท โดยเฉลี่ย สูงถึง 5 เท่า และเต็มปี ตัวเลขอาจจะวิ่งไปอีกหน่อย ลองดูรายละเอียดจะเห็น เงินลงทุนอื่น (เพิ่มขึ้น) อยากรู้หรือเปล่าครับว่าอะไร ไปตามต่อกันเอา ถึงขนาดทำให้ต้องกู้เงินถึง 815 ล้าน “ระยะสั้น” แสดงว่าจะมีเงินสดเค้ามาโปะ ยอดนี้ได้ไม่ช้านาน แนวโน้ม คาดว่าจะมีการรับรู้รายได้ใหม่ๆ เข้ามาพร้อมกับสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมาก

3.) ลองลงมาคือ -1064.95 มากกว่าปีที่ผ่านมา และ คงเพิ่มสูงสุดในรอบ 3 ปี โรงพยาบาลนี้อัดงบลงทุนเม็ดใหญ่ และ ได้ลงทุนไปแล้ว โดยมีการออกตราสารหนี้ 1800 กว่าล้านมาโปะหนี้เก่า และ ลงทุนใหม่
ถ้าเทียบแล้ว ข้อ 2 สำหรับผมออกตัวแรงสุด และ ยังไม่ออกตราสารหนี้ด้วย ส่วนถูกหรือแพงต้องไปคำนวณ Value ในแต่ละ ร.พ .เอาครับว่า ROI หรือ จุดคุ้มทุน หรือ วันที่รับรู้รายได้ เมื่อไหร่จะมาถึง
ถ้าลงทุนแบบ สาขา เล็กไม่ใหญ่ บริหารคล่องตัว จะเห็นผลเร็ว เพราะสร้างแล้ว พร้อมเลย แต่ถ้าใหญ่ ยังต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายไปอีกระยะหนึ่ง
คลิปวิธีดูกิจการกลุ่มพยาบาล โดยคุย กวิน สุวรรณตระกูล มือใหม่ Season2 รายการจาก Money Channel
[youtube]bge9yXMHGko[/youtube]